Wednesday, 1 May 2024
อาจารย์ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์

ข่าว Fake ว่อน Feed!! เช็คอย่างไร ให้ชัวร์ก่อนแชร์

ข่าว Fake ว่อน Feed 

หากเป็นสมัยยุคอนาล็อค ถ้าถามว่าข่าวอะไรแพร่ไว ก็น่าจะเป็น “ข่าวลือ” แต่สมัยยุคดิจิทัลนี้ข่าวลือต้องแพ้ “ข่าวลวง” (Fake news) ข่าวลวงยุคนี้มีหลากหลายรูปแบบและแยบยลขึ้นทุกวัน

BBC ระบุถึงความหมายของ Fake news ในยุคโลกออนไลน์ไว้สั้น ๆ เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนว่า Fake news คือ ข่าว หรือเรื่องราวที่ไม่จริงในอินเตอร์เน็ต “Fake news is news or stories on the internet that are not true.” จากนิยามสั้น ๆ นี้ ยากตรงเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข่าวหรือเรื่องราวนั้น ๆ จริงหรือไม่ เพราะข่าวหรือเรื่องราวที่บอกความจริงไม่หมด หรืออาศัยข้อมูลจริงบ้างบางส่วนผสมไม่จริงหรือนำเสนอเพื่อให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญนี้แยกแยะลำบากเหมือนกัน   

วันนี้จะมาชวนช่วยกันลองเช็คข้อมูลหาความจริงกัน ขอยกกเรื่องราวจากรณีล่าสุดในโลกโซเชียลฯ ที่มีการเผยแพร่จดหมายจาก บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ที่ส่งถึง ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยในเนื้อความระบุว่าบริษัทสามารถจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 20 ล้านโดส ให้แก่รัฐบาลไทยได้ โดยไม่ผ่านตัวแทนหรือบริษัทผู้จัดจำหน่ายอื่นใด แต่ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาบริษัทไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุขเพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปนำเสนอวัคซีนได้เลย 

ครั้งแรกที่เห็นจดหมายนี้ ก็สงสัยว่าจะเป็นไปได้ไหม? เพราะเท่าที่จำได้จากข่าว วัคซีนซิโนฟาร์ม มีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้แล้ว ทำไมจะมีอีกบริษัทแถมบอกว่าไม่ผ่านตัวแทนหรือบริษัทผู้จัดจำหน่ายอื่นด้วย มีความแปลก ๆ น่าสงสัย ๆ เลยลองหาข่าวจากสื่อพบว่า ด้านรัฐบาล โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในระบบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ปรากฏว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดไม่สามารถนำเข้ายาเข้ามาในประเทศไทยได้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และวัคซีน Sinopharm ได้มีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้ก่อนแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคำขอขึ้นทะเบียนอยู่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณา และยังระบุด้วยว่าการเจรจาติดต่อเรื่องการนำเข้าวัคซีนสามารถติดต่อผ่านทางองค์การเภสัชกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้โดยตรงในเบื้องต้น โดยไม่มีความจำเป็นต้องพบนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีตามที่อ้างแต่อย่างใด

ข้อมูลของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด กับของด้านรัฐบาลนั้นขัดแย้งกันพอสมควร…ยังไม่ต้องรีบเชื่อใครก็ได้ ก่อนจะเชื่อใคร ชวนลองมาตรวจสอบข้อมูลแบบง่าย ๆ กันกับความเป็นบริษัทแอคแคป แอสเซ็ทส์ ที่บอกว่าจะเอาวัคซีน Sinopharm เข้ามา 20 ล้านโดส (ภายใน 2 สัปดาห์ด้วยนะ) บริษัทนี้คือบริษัทอะไร ทำไมถึงกล่าวอ้างว่าจะนำเข้าวัคซีนได้   

วิธีการตรวจสอบ คือ ลองไปเช็คข้อมูล บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดใน website ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563 (ถึงวันนี้ก็ปีกว่า ๆ เอง) ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัท คือ นายกรกฤษณ์ กิติสิน และ นายศวิษฐ์ อุทัยเฉลิม จดทะเบียนในประเภทธุรกิจ “การซื้อและการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่เพื่อเป็นที่พักอาศัย” วัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียน คือ “ประกอบกิจการซื้อเเละการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่เพื่อเป็นที่พักอาศัย” นอกจากนี้ยังไม่พบข้อมูลการส่งงบการเงินปรากฎอยู่เลย หากพิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฎนี้ต้องบอกตรง ๆ ว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ที่ทำธุรกิจด้านอสังหาฯนั้นไม่ใกล้เคียงกับการจะเป็นบริษัทตัวแทนผู้นำเข้าวัคซีนได้เลย การนำเข้าวัคซีนในยามปกติก็ไม่ง่ายแล้ว ยิ่งในยามภาวะฉุกเฉินมีวิกฤตโรคระบาดนี้ยิ่งไม่น่าจะเป็นได้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะวางใจให้บริษัทที่ไม่ได้เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นตัวแทนนำเข้า 

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105563061387

พอหาข้อมูลได้ชักอยากรู้ต่อว่าแล้วบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้เพื่อวัคซีน Sinopharm ละเป็นอย่างไรบ้าง จึงลองไปหาข้อมูลบริษัทฯจาก website ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าบ้าง ก็พบว่า บริษัทไบโอจีนีเทค จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อปี 2536 โดยจดทะเบียนในประเภทการขายส่งเคมีภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และมีวัตถุประสงค์การจดทะเบียนเพื่อ นำเข้าและส่งออกขายสินค้าเคมีภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์ ทุนจดทะเบียน 24 ล้านและมีการแสดงงบแสดงสถานะการเงินปรากฎอยู่ชัดเจน 

ดังนั้นหากพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลบริษัทของทั้งคู่แล้ว แล้วสมมุติว่าเราคือชิโนฟาร์ม เราจะเลือกบริษัทไหนเป็นตัวแทนนำเข้าวัคซีน ระหว่างบริษัทที่เปิดมาเพื่อนำเข้า-เคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ กับบริษัทซื้อขายอสังหาริมทรัพย์? 

นอกจากนี้บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด อ้างว่าตนเองมีฐานะเป็นพันธมิตรผู้เดียวในประเทศไทยของบริษัท TELLUS AGROTECH PTE. LTD. ผู้จัดจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ในภูมิภาคเอเชีย…ทำให้อยากรู้จักบริษัทTELLUS AGROTECH PTE. LTD.  ด้วย เลยลองไป search หาข้อมูลบริษัทนี้ ก็เจอบริษัทที่มีชื่อเดียวกันกับ TELLUS AGROTECH PTE. LTD.  ระบุว่าบริษัทมีสถานะการดําเนินงานในปัจจุบันและเปิดให้บริการมา 2 ปี 118 วัน โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 Jan 2019 ธุรกิจหลักของบริษัทคือบริการให้คําปรึกษาด้านการเกษตร ธุรกิจรองคือการพัฒนาซอฟต์แวร์สําหรับสื่อดิจิทัล…ถ้าบริษัทนี้คือบริษัทเดียวกันตามที่บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด อ้างถึงนี้ก็ต้องบอกว่า บริษัทฯนี้ ดูไม่ใกล้เคียงกับการเป็นผู้จัดจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ในภูมิภาคเอเชียเลย 

ที่มา : https://www.sgpbusiness.com/company/Tellus-Agrotech-Pte-Ltd

และที่สำคัญ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้ที่จดหมายจาก บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ระบุว่าส่งจดหมายไปถึงนั้น โพสต์ชี้แจงใน Facebook ส่วนตัวลงวันที่ 27 พ.ค. 64 ว่า “หนังสือนี้ร่อนไปทั่วบนระบบออนไลน์โดยที่ คนที่หนังสือนี้ส่งถึงยังไม่ได้เห็นหนังสือตัวเป็น ๆ เลย...” (เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ชวนสงสัยมากว่า หากตั้งใจให้คุณหมอ ทำไมคุณหมอถึงไม่ได้รับ แต่ชาวเน็ตเห็นก่อนอีกด้วย ชวนสงสัยยิ่งนักว่าจดหมายนี้มีวัตุประสงค์เพื่ออะไร) นอกจากนี้คุณหมอยังได้ระบุถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ในการเป็นตัวแทนนำเข้าวัคซีนด้วย

สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวนั้น เมื่ออ่านที่คุณหมอเขียนแล้วก็รู้สึกสงสารคนทำงาน ลำพังจะต้องสู้กับโรคระบาด ต้องช่วยกันเพื่อให้คนไทยปลอดภัยที่สุดเท่าที่ทำได้นั้นก็ยากลำบากมากในยามนี้ แล้วยังต้องมาเจอเรื่องราวเช่นนี้อีก ดูจะบั่นทอนกำลังใจคนทำงานไม่น้อย ซึ่งสุดท้ายย่อมจะเป็นผลดีกับประชาชนและสังคมส่วนรวม 

ส่วนกรณีของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ก็คงต้องพิสูจน์ข้อเท็จเพิ่มเติมกันต่อไปว่าจะ fake หรือไม่ fake อย่างไร ยังไม่ขอฟันธง แต่เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้พอให้สังคมได้ช่วยกันพิจารณา ตั้งคำถามกับข้อเท็จจริงในกรณีจากเรื่องราวข้อมูลกรณีนี้ได้พอสมควร 

แต่แน่นอนว่า Fake news นั้นเกิดที่ไหน ก็เดือดร้อนที่นั้น เพราะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความเข้าใจผิดนี้นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ได้มาก ยิ่งในยามที่เราต้องเผชิญกับภาวะการต่อสู้กับโรคระบาดอาจทำให้เกิความผลลบอย่างที่เราอาจจะคาดถึง การรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมจึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่เราจะสร้างให้ตัวเองได้  สุดท้ายนี้มีวิธีสร้างภูมิคุ้มกันโดยการสังเกต fake news จาก BBC มาฝากค่ะ ทำได้ไม่ยาก ทั้งหมดเริ่มต้นจากการสังเกต ตั้งข้อสงสัย แล้วตั้งคำถามถามตัวเองก่อนจะเชื่อ หรือจะแชร์อะไร ว่า

- มีการรายงานเรื่องราวไปที่อื่นหรือไม่? (คือดูว่ามีสื่อลงหลาย ๆ สำนักไหม หรือมีการนำเสนออย่างกว้างขวางชัดเจนไหมนั้นเอง)

- ข่าวหรือเรื่องราวนั้น ๆ อยู่ในวิทยุทีวีหรือในหนังสือพิมพ์? (ข้อนี้อาจต้องระวัง เพราะบางทีสิ่งที่อยู่ในสื่อหลักอย่างวิทยุและโทรทัศน์ก็อาจจะไม่จริงทั้งหมดเสมอไป)

- คุณเคยได้ยินชื่อ หรือรู้จักองค์กรที่เผยแพร่ข่าว หรือเรื่องราวหรือไม่? (ถ้าชื่อสำนักข่าว หรือชื่อ url ไม่คุ้นเคยต้องตั้งคำถามต่อว่า คนส่งข่าวหรือเรื่องราวนี้คือใคร น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน)

- เว็บไซต์ที่คุณพบว่าเรื่องราวดูเป็นของแท้หรือไม่? (เพื่อพึงระวังเว็บไซต์เลียนแบบ (copycat) ที่ออกแบบมาเพื่อมีลักษณะเหมือนเว็บไซต์จริงของคนอื่น)

- ที่อยู่ (URL) เว็บไซต์ที่ด้านบนของหน้าดูจริงหรือไม่? โดยให้สังเกตตอนท้ายของชื่อเว็บไซต์ ว่าดูปกติไหม เช่น '.co.uk' หรือ '.com'  ถ้าเป็น 'com.co' แบบนี้แสดงว่าไม่ปกติแล้ว ไม่น่าเชื่อถือ

- รูปภาพหรือวิดีโอดูปกติหรือไม่? (ในภาพหรือวิดีโอดูมีความผิดปกติอย่างไรบ้างหรือไม่)

- เรื่องราวฟังดูน่าเชื่อถือหรือไม่? (บางเรื่องหากลองพิจารณาดูดี จะพบว่ามีความไม่สมเหตุ สมผลบ้างอย่าง ซึ่งควรนำไปสู่การหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น กรณีจดหมายของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดนี้)

ถ้าหากคําตอบสําหรับคําถามเหล่านี้คือ 'ไม่' เช่น ไม่น่าเชื่อถือ ไม่เคยได้ยินที่ไหน ไม่รู้จักแหล่งที่มา เป็นต้น เราอาจต้องการตรวจสอบเพิ่มเติมก่อนที่เชื่อ จะแชร์ เพราะเราอาจกลายเป็นผู้ส่งต่อและขยาย fake news เสียเอง และการที่เราช่วยกันเช็คข้อมูลก็จะได้ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับทั้งคนใกล้ตัวและสังคมได้รับรู้ด้วย สิ่งที่จะทำให้ fake news พ่ายแพ้ไป คือความจริงที่ถูกต้อง หากยังเช็คข้อเท็จจริงไม่ได้ ก็อย่างเพิ่งแชร์ อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอย่างน้อยก็เท่ากับว่าเราได้ช่วยกันยับยั้งการระบาดของ fake news ได้ค่ะ 


เขียนโดย: อาจารย์ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ข้อมูลอ้างอิง 
https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105563061387
https://www.thereporters.co/covid-19/270520212209/
https://www.bbc.co.uk/newsround/38906931

‘มายาคติ’ ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุ

ช่วงนี้สนใจอยากพูดถึงเรื่องของผู้สูงอายุในบ้านเรา เพราะไม่ปีนี้ก็ปีหน้าคาดว่าประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือ มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศแล้ว ดังนั้นการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง และในฐานนักวิชาการด้านสื่อก็เกิดความสนใจว่าการศึกษาด้านสื่อกับผู้สูงอายุในเมืองไทยนั้นมีมากน้อยเพียงใดและว่าด้วยเนื้อหาเรื่องใดบ้าง ก็ไปพบว่าอาจารย์กาญจนา แก้วเทพ ได้ทำการศึกษาประเด็นการสื่อสารกับผู้สูงวัย (2554)

อาจารย์พบว่างานวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้สูงอายุในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณปี พศ.2525 มาจนถึงช่วงเวลาปัจจุบัน รวมเป็นเวลาเกือบ 30 ปีนั้น มีงานวิจัยที่ระบุหัวข้อชื่อตรงกับผู้สูงอายุและการสื่อสารไม่เกิน 10 เล่มทั้งที่จำนวนผู้สูงอายุนั้นมีถึงเกือบร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และยังพบว่าการวิจัยในประเด็นผู้สูงอายุที่มักเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจขนาดใหญ่นั้นไม่ช่วยเห็นลักษณะเฉพาะของความเป็นผู้สูงอายุได้ และเมื่อผสมกับการขาดแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่รอบด้านและชัดเจนจึงทำให้ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงทำให้ไม่มีข้อค้นพบเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของผู้สูงอายุในแง่มุมของการสื่อสาร และเมื่อศึกษางานวิจัยอื่น ๆ พร้อม ๆ ไปกับการสังเกตรายการในหน้าจอทีวี สังเกตได้ว่ามีความเข้าใจผิดหรือมีมายาคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุอยู่มากในเรื่องใช้สื่อของผู้สูงอายุ ลองมาดูกันค่ะว่าเราเองก็เข้าใจผู้สูงอายุผิดไปหรือไม่

มายาคติผู้สูงอายุตื่นแต่มืดแต่ดึก : ผู้สูงอายุชอบตื่นแต่เช้ามืด ตี 4 - 5 มาดูทีวี มาฟังวิทยุ จริงหรือ?

อาจจะพูดได้ว่าการคิดว่าผู้สูงอายุชอบตื่นแต่เช้ามืดดังนั้นถ้าจะทำสื่อให้ผู้สูงอายุต้องใช้ช่วงเวลาตีสี่ตีห้า แต่แทนจริงแล้วเป็นเพียงมายาคติที่สังคมมองมายังผู้สูงอายุ เพราะมีงานวิจัยหลายเรื่องที่พบว่าผู้สูงอายุไม่ได้เปิดรับสื่อช่วงเช้ามืดอย่างที่สังคมเข้าใจ เช่น จากการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ ของ จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, สันทัด ทองรินทร์ และวิทยาธร ท่อแก้ว (2559) พบว่าผู้ชมที่มีอายุระหว่าง 60 - 65 ปีมีความต้องการในการชมรายการโทรทัศน์ ช่วงเช้า (06.01 น. - 09.00 น.) และ ช่วงสาย (09.01 น. - 12.00 น.) ผู้ชมที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความต้องการในการชมรายการโทรทัศน์ช่วงเช้า (06.01 น. - 09.00 น.) และช่วงเย็น (16.01 น. - 19.00 น.) 

และพนม คลี่ฉายา (2555) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย โดยมีสำรวจการเปิดรับสื่อ โดยพบว่าเปิดรับสื่อเป็นประจำมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์ บุคคลใกล้ชิด และโทรศัพท์มือถือ ผู้สูงอายุมักจะชมโทรทัศน์มากที่สุด โดยชมรายการข่าวเป็นประจำ ในช่วงเวลา 17.01 - 21.00 น. ใช้เวลาในการชม คือ 1 - 3 ชั่วโมง/ครั้ง สอดคล้องกับแนวคิดของบริษัทอาร์เอสโปรโมชั่น ในการผลิตรายการโทรทัศน์ช่องเพลินทีวี ทีวีเพื่อผู้สูงอายุ ระบุว่าผู้สูงอายุมีวิถีชีวิต (Lifestyle) ในการรับชมโทรทัศน์อยู่กับบ้านเฉลี่ยมากกว่าบุคคลวัยอื่นถึงร้อยละ 10 โดยที่เวลาไพร์มไทม์ของกลุ่มคนสูงอายุอยู่ในช่วงเวลา 17.30 - 21.30 น. (แต่แอบกระซิบเบา ๆ ว่าหลังจากที่ออกอากาศได้เพียงแค่ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 บริษัทอาร์เอสฯได้ประกาศยุติออกอากาศในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ)

ดังนั้นจะเห็นว่าสังคมมีความเข้าใจผิดคิดว่าผู้สูงอายุนั้นมักชอบชมรายการโทรทัศน์หรือฟังวิทยุในช่วงเวลาเช้ามืดนั้นไม่เป็นความจริง และหากจะถามหาเวลาที่เหมาะในการทำสื่อเพื่อผู้สูงอายุควรจะเป็นช่วงเย็น ๆ มากว่าช่วงเช้ามืดด้วยซ้ำไป

มายาคติผู้สูงอายุชอบทำบุญเข้าวัด : ผู้สูงอายุชอบรายการธรรมะที่สุด จริงหรือ?

มายาคติอีกเรื่องที่ไม่รู้ใครบัญญัติมาให้เชื่อตาม ๆ กัน คือการเหมารวมว่าการที่ผู้สูงอายุชอบเข้าวัดทำบุญดังนั้นจึงชอบดูรายการธรรมะที่สุด แต่จริง ๆ แล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่?

จากการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ ของ จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, สันทัด ทองรินทร์ และวิทยาธร ท่อแก้ว (2559) ในประเด็นการเปิดรับความต้องการและการใช้ประโยชน์รายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์จากการชมรายการโทรทัศน์ 3 อันดับแรก ได้แก่

1) เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสาร
2) เพื่อสร้างความเบิกบานใจ ความสุข และคลายเหงา
3) เพื่อนำเนื้อหาไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเอง ลักษณะเนื้อหาในสื่อที่ผู้สูงอายุต้องการ จากผลงานวิจัยนี้ทำให้เชื่อมโยงได้ว่าผู้สูงอายุชอบรายการที่ให้ทราบข้อมูลข่าวมากว่ารายการธรรมะแน่ ๆ นอกจากนี้ยัง พบว่า

ผู้สูงอายุต้องการเนื้อหาให้สื่อนำเสนอให้เห็นถึงศักยภาพของผู้สูงอายุ ส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกหรือเชิดชูผู้สูงอายุ เนื้อหาที่แสดงให้เห็นความรักความผูกพันระหว่างผู้สูงอายุกับครอบครัว และเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การรักษาสุขภาพ สิทธิทางกฏหมาย และสวัสดิการต่างๆ เป็นต้นด้วย จากงานวิจัยที่กล่าวไปนี้น่าจะพอสรุปได้ว่ารายการธรรมะอาจไม่ได้เป็นรายการที่ผู้สูงอายุจะชื่นชอบที่สุดหรือจะเลือกชมเป็นลำดับต้น ๆ ด้วยซ้ำไป

มายาคติว่าผู้สูงอายุทุกคนก็ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน : ผู้สูงอายุมีความต้องการใช้สื่อเหมือน ๆ กันหมดจริงหรือ?

มายาคตินี้เราเจอกับบ่อย ๆ เพราะการคิดเหมารวมอีกเช่นกันว่าขึ้นชื่อว่าผู้อายุก็คงจะมีความต้องการใช้สื่อเหมือนกันหมดเพราะเป็นคนกลุ่มเดียวกัน แต่จากการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้สูงวัยนั้นก็มีความต้องการในการใช้สื่อที่หลากหลายและแตกต่างกันไม่แพ้วัยเด็กและเยาวชน โดยสิ่งที่เป็นเงื่อนไขปัจจัยมีทั้งปัจจัยส่วนตัว เช่น ลักษณะบุคลิกภาพ ความชอบ ความถนัดและปัจจัยด้านการศึกษา และปัจจัยทางด้านสังคม สภาพครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยทางกายภาพ เช่น พื้นที่อยู่อาศัยนั้น ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อทั้งสิ้น ส่วนในภาพรวมนั้นอาจกล่าวได้ว่าแม้กลุ่มผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ตน้อยที่สุดหากเทียบกับกลุ่ม Gen X และ Gen Y สื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุก็ยังคงเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้สูงอายุได้มากที่สุด

โดยที่สื่อวิทยุนั้นจะเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุในเขตต่างจังหวัดได้มากกว่าเขตเมือง แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุจะใช้สื่อออนไลน์มากขึ้นและสื่อออนไลน์ก็เป็นที่นิยมของผู้สูงอายุมากขึ้น และยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน ดังเช่นงานวิจัยของ กันตพล บันทัดทอง (2557) เรื่อง พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 66 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์น้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 66 ปีขึ้นไป อาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพมากกว่ากลุ่มอื่น เช่น ปัญหาสายตา ปัญญาการใช้นิ้วหรือมือ จึงไม่สามารถใช้บริการเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ได้ จึงมีความพึงพอใจต่ำกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่น

มายาคติที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่กล่าวไปข้างต้นนั้นสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยโดยเฉพาะผู้ผลิตสื่อ ยังมีความเข้าใจผิดถึงพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุและยังไม่มีข้อมูลองค์ความรู้สำคัญพื้นฐานที่จะทำให้การผลิตสื่อที่เหมาะสมตรงความต้องการของผู้สูงอายุ ดังนั้นการทำความรู้จักและเข้าใจความต้องการของผู้สูงอายุอย่างถ่องแท้ จะเป็นประโยชน์มากในการพัฒนาสื่อเพื่อผู้สูงอายุ ภาครัฐควรสนับสนุนนโยบาย งบประมาณและพัฒนาบุคลากร เพราะในประเทศไทยการทำสื่อเพื่อผู้สูงอายุก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับการทำสื่อเพื่อเด็ก คือผู้ประกอบการมองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ากับผลกำไรที่ได้ในทางธุรกิจ ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาช่วยหนุนเสริมภารกิจนี้อีกทาง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสื่อเพื่อผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและดึงศักยภาพของผู้สูงอายุออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม นอกจากนี้สื่อยังสามารถทำหน้าที่ช่วยให้คนในสังคมที่มีความหลากหลายของช่วงวัยเกิดความเข้าใจซึ่งกันละกัน ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่ยอมรับในความหลากหลายและเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของคนทุกช่วงวัย อย่างที่ย้ำเสมอว่าการเป็นสังคมผู้สูงอายุไม่ใช่เป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของเราทุกคนจริง ๆ

เขียนโดย: อาจารย์ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 


ข้อมูลอ้างอิง
กาญจนา แก้วเทพ.(2554).ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงอายุ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์
พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย: รายงาน
การวิจัย (Information Need, Media Uses and Media Habit of Thai Elderly: Research Report). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กันตพล บันทัดทอง.(2558) พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุใน
เขตกรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
“ช่องทีวีคนสูงวัย เซกเม้นท์นี้ “อาร์เอส” จอง.สืบคนเมื่อ 20 มกราคม 2556.จาก http://positioningmag.com/60832
Positioning. (2558) ช่องทีวีคนสูงวัย เซกเม้นท์นี้ “อาร์เอส” จอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559. จาก http://positioningmag.com/60832
เผยแนวโน้ม “สื่อรุ่ง – สื่อร่วง” ปี ’59 ชี้ชะตาอนาคตสื่อปีหน้า ใครจะได้ไปต่อ !! สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม2559. จาก http://www.brandbuffet.in.th/2016/12/kantar-worldpanel-media-profiler-2016

วิกฤตหรือโอกาส? พลิกโฉมการศึกษาไทยยุค New Normal

โควิดระบาดในประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงวันนี้หากจะพูดถึงผลกระทบของโควิด ทุกคนคงกระจ่างแจ้งอย่างที่ไม่ต้องเอื้อนเอ่ยกันหลายคำ เพราะทุกคนล้วนเป็นผู้ประสบภัยกันทั่วหน้า แม้ผลกระทบมากน้อยอาจต่างกัน 

โควิดส่งผลกระทบมากมายอย่างคาดไม่ถึง ทั้งด้านชีวิตและสุขภาพ สภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนวิถีชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนไปจากปกติเดิม จนต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ อย่างคำว่า “New Normal” วิธีชีวิตปกติแบบใหม่ นี้ก็คือการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ในชีวิตประจำวันเพื่อการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดนี้เอง เช่น การทำงานก็เปลี่ยนจากการที่ต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ ไปสำนักงานก็เปลี่ยนมาเป็นการทำงานที่บ้าน หรือที่เราเรียกทับศัพท์กันอย่างติดปากว่า Work From Home การประชุมติดต่อประสานงานนั้นก็ทำได้โดยใช้ระบบออนไลน์เข้ามาช่วย 

และไม่ใช่เพียงแค่ภาคธุรกิจเท่านั้นที่ต้องปรับขบวนกันยกใหญ่ ภาคการศึกษาก็เช่นกัน ต้องปรับจากการเรียนในสถานศึกษา มาเป็นห้องเรียนออนไลน์กันทุกระดับชั้นต้องแต่อนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย เพื่อมาตรการในการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดการระบาดของโรค

1 ปีกว่าผ่านมาหากจะชวนคิด ชวนตั้งคำถามว่าการศึกษาในยุค New Normal นี้ โอกาสหรือเป็นวิกฤต กับสังคมไทยนั้นก่อนจะสรุปว่าเป็นวิกฤตหรือโอกาส ลองมาสำรวจปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ กันก่อน

จากการเรียนในห้องเรียนที่มีเพื่อนร่วมห้อง มีคุณครู มีประตู หน้าต่าง มีการพบหน้าคาดตา ปรับมาเป็นการเรียนออนไลน์ ต่างคนต่างอยู่บ้าน เจอหน้ากันผ่านจอคอมพิวเตอร์ มีอินเตอร์เน็ตไว้เพื่อการเข้าถึงห้องเรียนออนไลน์ จากข่าวคราวที่ปรากฎในสื่อเห็นชัดว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่ายในประเทศไทย เพราะด้วยเหตุผลหลายประการในเชิงโครงสร้าง  

ประการแรก เรายังมีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสำหรับใช้เรียนออนไลน์ที่บ้าน ซึ่งมักจะมาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำอีกรูปแบบในระบบการศึกษาไทย จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนของไทยในปี 2563 อยู่ที่ 26018.42 ในขณะที่มีรายจ่ายปี 2562 อยู่ที่ 20,742.12 และล่าสุดรายจ่ายของครัวเรือนของไทยในปี 2563 มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เฉลี่ยเดือนละ 21,329 บาท โดยร้อยละ 87 ของค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และร้อยละ 13 เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง / หวย ดอกเบี้ย) ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาอยู่ที่ 1.5% เท่านั้น 

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการจัดสรรเงินสำรองเพื่อการศึกษาที่ไม่มากนั้น ยิ่งเมื่อเจอกับสถานการณ์โควิด ที่อาจทำให้รายรับของครอบครัวลดน้อยลงไปอีก จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับครอบครัวที่ถูกซ้ำเติมในยามโควิดระบาดนี้อยู่แล้ว จะจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน การซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่องว่างทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นอีกในระบบการศึกษาไทย  

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากการศึกษาของ TDRI ที่พบว่าปัญหาของครัวเรือนในประเทศไทยที่ใหญ่กว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านคือ การไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 21 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ร้อยละ 49 การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของครัวเรือนยิ่งยากมากขึ้นหากเป็นครัวเรือนที่มีฐานะยากจน 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2560 ในประเทศไทย ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 2 แสนบาทมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 3 ของครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 2 แสนบาทขึ้นไปมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตร้อยละ 19 ของครัวเรือนทั้งหมด และหากจำแนกตามภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์สูงถึงร้อยละ 42 ของครัวเรือนทั้งหมด ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ในภาคกลางร้อยละ 21 ส่วนในภาคเหนือ ร้อยละ 19 ในภาคใต้ ร้อยละ 17 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 14  ซึ่งสถิตเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำถึงความเหลื่อมล้ำในเชิงโครงสร้างในการเข้าถึงการเรียนออนไลน์ของเด็กและเยาวชนไทย 

นอกจากความไม่พร้อมในเครื่องไม้เครื่องมือแล้ว ประการต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือเรื่องความไม่พร้อมของการจัดการเรียนการสอน ทั้งในแง่หลักสูตร ความพร้อมของครูอาจารย์ ตลอดจนความพร้อมในการเรียนของนักเรียนนักศึกษาในการเรียนออนไลน์มีมากน้อยเพียงใด 

จากเสียงสะท้อนของทั้งผู้สอน และผู้เรียน ตลอดจนผู้ปกครองต่างต้องรับมือกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ฝั่งผู้สอน ครูอาจารย์ก็รู้สึกท้อแท้กับการไม่มีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษาจากการใช้ระบบออนไลน์ ยิ่งเป็นการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยที่ให้ความไว้วางใจว่านักศึกษาโตพอที่จะรับผิดชอบตนเองได้ ยิ่งพบว่าบรรดาอาจารย์ต่างปรับทุกข์ในทำนองเดียวกันว่านักศึกษาแทบไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนเท่าที่ควรจะเป็น ไม่เปิดกล้อง ไม่ถามคำถาม ไม่ตอบคำถาม ส่วนในมุมผู้เรียนก็มองว่าเรียนออนไลน์น่าเบื่อ ไม่มีบรรยากาศการเรียนที่กระตุ้นการอยากรู้อยากเห็น ครูอาจารย์ไม่มีกลวิธีการสอนที่ดึงดูดใจพอ 

ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กเล็ก ๆ ในชั้นอนุบาลหรือประถมต้นนั้นก็เหนื่อยไม่แพ้กันเพราะเหมือนต้องคอยดูแลกำกับให้ลูก ๆ หลาน ๆ นั่งหน้าจอเรียนออนไลน์ ในยุคก่อน new normal พ่อแม่ผู้ปกครองก็อาจมีหน้าที่ช่วยสอนลูกหลานในการทำการบ้าน แต่เหมือนว่าในยุค new normal นี้ต้องทั้งเรียนด้วย สอนด้วย ดูแลบุตรหลานด้วย ความเครียดจึงบังเกิดแด่พ่อแม่ผู้ปกครองกันทั่วหน้า

ดังนั้นปรากฏการณ์ของโควิด-19 ที่มีพลิกโฉมการเรียนการสอนจากห้องเรียนทางกายภาพสู่ห้องเรียนออนไลน์ หากมองดี ๆ แล้ว จะพบว่าความปกติใหม่ หรือ New normal นี้ ทำให้เกิดความตระหนักรู้ใหม่และกระตุ้นเตือนให้เราหันกลับมาทบทวนสิ่งที่เป็นความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษามากขึ้น 

ไม่ว่าจะเป็นตัวหลักสูตร ที่ควรตั้งคำถามว่าหลักสูตรที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษานั้นเหมาะสมสำหรับพัฒนาการการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยของเด็กและเยาวชนจริงหรือไม่ หลักสูตรที่มีเหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่น ในพื้นที่ของเด็ก ๆ หรือไม่ หรือแม้แต่กฎเกณฑ์กติกาบางอย่างที่แท้จริงแล้วสำคัญหรือไม่อย่างไร หากเด็ก ๆ ต้องเรียนอยู่ที่บ้าน เช่น การแต่งชุดนักเรียนและการไว้ทรงผม และกติกาหรือระเบียบวินัยแบบไหนที่ควรต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ แทน เป็นต้น 

นอกจากตัวเนื้อหาของหลักสูตรแล้ว กลวิธีการสอนและรูปแบบในการนำเสนอสำหรับการเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์นั้นก็มีความสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงและต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ด้วย การใช้วิธีการเดียวกันกับการสอนในห้องเรียนปกตินั้นคงจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป 

ทั้งนี้ TDRI ได้ทำการศึกษาเราควรใช้ความตระหนักรู้ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์นี้ มาออกแบบอนาคตของการศึกษาไทย โดยให้น้ำหนักกับสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนให้มากที่สุด ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยมากในหลายประเด็น เช่น 

• ให้น้ำหนักกับปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณภาพระหว่างครูและนักเรียน มากกว่า จำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอยู่ในห้องเรียนหรือเรียนผ่านสื่อโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์

• ให้น้ำหนักกับการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับความสนใจของนักเรียน เชื่อมโยงกับชุมชนและบริบทที่นักเรียนอยู่มากกว่า การเรียนรู้อิงตามมาตรฐานแบบเดียวกันทั้งประเทศ

• ให้น้ำหนักกับการประเมินผลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน (formative assessment) จากชิ้นงานและพฤติกรรมของนักเรียน มากกว่า การประเมินเพื่อการตัดสิน (summative assessment) เพื่อนำไปใช้ให้คุณให้โทษแก่โรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา

• ให้น้ำหนักกับการเรียนรู้เพื่อสุขภาพกายและใจ ควบคู่กับการเรียนรู้ด้านวิชาการ สถานการณ์โรคระบาดส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของทุกคนรวมถึงเด็ก ๆ ทุกวัย 

• ให้น้ำหนักกับการจัดสรรทรัพยากรออฟไลน์แก่เด็กและครอบครัว ควบคู่กับ ทรัพยากรออนไลน์ เช่น จัดสรรหนังสือเด็กให้แก่ครอบครัวด้อยโอกาสเพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่บ้าน จัดให้มีอาสาสมัครติดตามสถานการณ์เด็กในแต่ละครอบครัวและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการดูแลลูก เป็นต้น ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของประเทศไปด้วย 

ดังนั้น หากย้อนกลับมาที่คำถามของเราว่า การศึกษาไทยในยุค New normal นี่เป็นวิกฤตหรือโอกาส ก็คงตอบได้อย่างชัดเจนว่ามีทั้งสิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นวิกฤต และโอกาส เพราะวิกฤตในวันนี้เราสามารถพลิกให้เป็นบทเรียนเพื่อสร้างโอกาสในวันหน้าได้ เพียงแต่ต้องปรับมุมมองของผู้กำหนดนโยบาย ปรับวิธีคิดของบุคลากรทางการศึกษา สร้างความร่วมมือกันใหม่ในการมีส่วนช่วยกันยกเครื่องระบบการศึกษา ทั้งพัฒนาหลักสูตร พัฒนาศักยภาพบุคคลกรทางการศึกษา พัฒนาแนวทางและรูปแบบ

โดยมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและระดับท้องถิ่น นอกจากนี้อาจจะต้องดึงภาคเอกชนและหน่วยงานนอกระบบราชการ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนมาร่วมมือกันออกแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึงถอดบทเรียนองค์ความรู้จากทั้งในและต่างประเทศ เพราะเราจะพบว่าแนวโน้มในการความเป็น New normal นี้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคต เช่น เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร การเกิดเทคโนโลยี disruptive หรือแม้แต่การเปลี่ยนด้านการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการสร้างคน สร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ เพื่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศและโลก ซึ่งการศึกษาคือเครื่องมือสำคัญในการสร้างคนนั้นเอง 

เขียนโดย: อาจารย์ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 


ข้อมูลอ้างอิง
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเป็นประจำตั้งแต่ปี 2500 (nso.go.th)
New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ - TDRI: Thailand Development Research Institute
วิกฤตโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในห้องเรียนออนไลน์ - TDRI: Thailand Development Research Institute

การศึกษาไทยในยุค New Normal วิกฤตหรือโอกาส?

โควิดระบาดในประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงวันนี้หากจะพูดถึงผลกระทบของโควิด ทุกคนคงกระจ่างแจ้งอย่างที่ไม่ต้องเอื้อนเอ่ยกันหลายคำ เพราะทุกคนล้วนเป็นผู้ประสบภัยกันทั่วหน้า แม้ผลกระทบมากน้อยอาจต่างกัน 

โควิดส่งผลกระทบมากมายอย่างคาดไม่ถึง ทั้งด้านชีวิตและสุขภาพ สภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนวิถีชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนไปจากปกติเดิม จนต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ อย่างคำว่า “New Normal” วิธีชีวิตปกติแบบใหม่ นี้ก็คือการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ในชีวิตประจำวันเพื่อการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดนี้เอง เช่น การทำงานก็เปลี่ยนจากการที่ต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ ไปสำนักงานก็เปลี่ยนมาเป็นการทำงานที่บ้าน หรือที่เราเรียกทับศัพท์กันอย่างติดปากว่า Work From Home การประชุมติดต่อประสานงานนั้นก็ทำได้โดยใช้ระบบออนไลน์เข้ามาช่วย และไม่ใช่เพียงแค่ภาคธุรกิจเท่านั้นที่ต้องปรับขบวนกันยกใหญ่ ภาคการศึกษาก็เช่นกัน ต้องปรับจากการเรียนในสถานศึกษา มาเป็นห้องเรียนออนไลน์กันทุกระดับชั้นต้องแต่อนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย เพื่อมาตรการในการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดการระบาดของโรค

1 ปีกว่าผ่านมาหากจะชวนคิด ชวนตั้งคำถามว่าการศึกษาในยุค New Normal นี้ โอกาสหรือเป็นวิกฤต กับสังคมไทยนั้นก่อนจะสรุปว่าเป็นวิกฤตหรือโอกาส ลองมาสำรวจปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ กันก่อน

จากการเรียนในห้องเรียนที่มีเพื่อนร่วมห้อง มีคุณครู มีประตู หน้าต่าง มีการพบหน้าคาดตา ปรับมาเป็นการเรียนออนไลน์ ต่างคนต่างอยู่บ้าน เจอหน้ากันผ่านจอคอมพิวเตอร์ มีอินเตอร์เน็ตไว้เพื่อการเข้าถึงห้องเรียนออนไลน์ จากข่าวคราวที่ปรากฎในสื่อเห็นชัดว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่ายในประเทศไทย เพราะด้วยเหตุผลหลายประการในเชิงโครงสร้าง  

ประการแรก เรายังมีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสำหรับใช้เรียนออนไลน์ที่บ้าน ซึ่งมักจะมาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำอีกรูปแบบในระบบการศึกษาไทย จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนของไทยในปี 2563 อยู่ที่ 26018.42 ในขณะที่มีรายจ่ายปี 2562 อยู่ที่ 20,742.12 และล่าสุดรายจ่ายของครัวเรือนของไทยในปี 2563 มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เฉลี่ยเดือนละ 21,329 บาท โดยร้อยละ 87 ของค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และร้อยละ 13 เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง / หวย ดอกเบี้ย) ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาอยู่ที่ 1.5% เท่านั้น ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการจัดสรรเงินสำรองเพื่อการศึกษาที่ไม่มากนั้น ยิ่งเมื่อเจอกับสถานการณ์โควิด ที่อาจทำให้รายรับของครอบครัวลดน้อยลงไปอีก จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับครอบครัวที่ถูกซ้ำเติมในยามโควิดระบาดนี้อยู่แล้ว จะจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน การซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่องว่างทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นอีกในระบบการศึกษาไทย  

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากการศึกษาของ TDRI ที่พบว่าปัญหาของครัวเรือนในประเทศไทยที่ใหญ่กว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านคือ การไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 21 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ร้อยละ 49 การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของครัวเรือนยิ่งยากมากขึ้นหากเป็นครัวเรือนที่มีฐานะยากจน 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2560 ในประเทศไทย ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 2 แสนบาทมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 3 ของครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 2 แสนบาทขึ้นไปมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตร้อยละ 19 ของครัวเรือนทั้งหมด และหากจำแนกตามภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์สูงถึงร้อยละ 42 ของครัวเรือนทั้งหมด ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ในภาคกลางร้อยละ 21 ส่วนในภาคเหนือ ร้อยละ 19 ในภาคใต้ ร้อยละ 17 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 14  ซึ่งสถิตเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำถึงความเหลื่อมล้ำในเชิงโครงสร้างในการเข้าถึงการเรียนออนไลน์ของเด็กและเยาวชนไทย 

นอกจากความไม่พร้อมในเครื่องไม้เครื่องมือแล้ว ประการต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือเรื่องความไม่พร้อมของการจัดการเรียนการสอน ทั้งในแง่หลักสูตร ความพร้อมของครูอาจารย์ ตลอดดจนความพร้อมในการเรียนของนักเรียนนักศึกษาในการเรียนออนไลน์มีมากน้อยเพียงใด จากเสียงสะท้อนของทั้งผู้สอน และผู้เรียน ตลอดจนผู้ปกครองต่างต้องรับมือกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ฝั่งผู้สอน ครูอาจารย์ก็รู้สึกท้อแท้กับการไม่มีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษาจากการใช้ระบบออนไลน์ ยิ่งเป็นการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยที่ให้ความไว้วางใจว่านักศึกษาโตพอที่จะรับผิดชอบตนเองได้ ยิ่งพบว่าบรรดาอาจารย์ต่างปรับทุกข์ในทำนองเดียวกันว่านักศึกษาแทบไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนเท่าที่ควรจะเป็น ไม่เปิดกล้อง ไม่ถามคำถาม ไม่ตอบคำถาม ส่วนในมุมผู้เรียนก็มองว่าเรียนออนไลน์น่าเบื่อ ไม่มีบรรยากาศการเรียนที่กระตุ้นการอยากรู้อยากเห็น ครูอาจารย์ไม่มีกลวิธีการสอนที่ดึงดูดใจพอ 

ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กเล็ก ๆ ในชั้นอนุบาลหรือประถมต้นนั้นก็เหนื่อยไม่แพ้กันเพราะเหมือนต้องคอยดูแลกำกับให้ลูก ๆ หลาน ๆ นั่งหน้าจอเรียนออนไลน์ ในยุคก่อน new normal พ่อแม่ผู้ปกครองก็อาจมีหน้าที่ช่วยสอนลูกหลานในการทำการบ้าน แต่เหมือนว่าในยุค new normal นี้ต้องทั้งเรียนด้วย สอนด้วย ดูแลบุตรหลานด้วย ความเครียดจึงบังเกิดแด่พ่อแม่ผู้ปกครองกันทั่วหน้า

ดังนั้นปรากฏการณ์ของโควิด-19 ที่มีพลิกโฉมการเรียนการสอนจากห้องเรียนทางกายภาพสู่ห้องเรียนออนไลน์ หากมองดี ๆ แล้ว จะพบว่าความปกติใหม่ หรือ New normal นี้ ทำให้เกิดความตระหนักรู้ใหม่และกระตุ้นเตือนให้เราหันกลับมาทบทวนสิ่งที่เป็นความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวหลักสูตร ที่ควรตั้งคำถามว่าหลักสูตรที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษานั้นเหมาะสมสำหรับพัฒนาการการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยของเด็กและเยาวชนจริงหรือไม่ หลักสูตรที่มีเหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่น ในพื้นที่ของเด็ก ๆ หรือไม่ หรือแม้แต่กฎเกณฑ์กติกาบางอย่างที่แท้จริงแล้วสำคัญหรือไม่อย่างไร หากเด็ก ๆ ต้องเรียนอยู่ที่บ้าน เช่น การแต่งชุดนักเรียนและการไว้ทรงผม และกติกาหรือระเบียบวินัยแบบไหนที่ควรต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ แทน เป็นต้น นอกจากตัวเนื้อหาของหลักสูตรแล้ว กลวิธีการสอนและรูปแบบในการนำเสนอสำหรับการเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์นั้นก็มีความสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงและต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ด้วย การใช้วิธีการเดียวกันกับการสอนในห้องเรียนปกตินั้นคงจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป 

ทั้งนี้ TDRI ได้ทำการศึกษาเราควรใช้ความตระหนักรู้ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์นี้ มาออกแบบอนาคตของการศึกษาไทย โดยให้น้ำหนักกับสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนให้มากที่สุด ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยมากในหลายประเด็น เช่น 

• ให้น้ำหนักกับปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณภาพระหว่างครูและนักเรียน มากกว่า จำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอยู่ในห้องเรียนหรือเรียนผ่านสื่อโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์
• ให้น้ำหนักกับการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับความสนใจของนักเรียน เชื่อมโยงกับชุมชนและบริบทที่นักเรียนอยู่มากกว่า การเรียนรู้อิงตามมาตรฐานแบบเดียวกันทั้งประเทศ
• ให้น้ำหนักกับการประเมินผลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน (formative assessment) จากชิ้นงานและพฤติกรรมของนักเรียน มากกว่า การประเมินเพื่อการตัดสิน (summative assessment) เพื่อนำไปใช้ให้คุณให้โทษแก่โรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา
• ให้น้ำหนักกับการเรียนรู้เพื่อสุขภาพกายและใจ ควบคู่กับการเรียนรู้ด้านวิชาการ สถานการณ์โรคระบาดส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของทุกคนรวมถึงเด็ก ๆ ทุกวัย 
• ให้น้ำหนักกับการจัดสรรทรัพยากรออฟไลน์แก่เด็กและครอบครัว ควบคู่กับ ทรัพยากรออนไลน์ เช่น จัดสรรหนังสือเด็กให้แก่ครอบครัวด้อยโอกาสเพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่บ้าน จัดให้มีอาสาสมัครติดตามสถานการณ์เด็กในแต่ละครอบครัวและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการดูแลลูก เป็นต้น ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของประเทศไปด้วย 

ดังนั้น หากย้อนกลับมาที่คำถามของเราว่า การศึกษาไทยในยุค New normal นี่เป็นวิกฤตหรือโอกาส ก็คงตอบได้อย่างชัดเจนว่ามีทั้งสิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นวิกฤต และโอกาส เพราะวิกฤตในวันนี้เราสามารถพลิกให้เป็นบทเรียนเพื่อสร้างโอกาสในวันหน้าได้ เพียงแต่ต้องปรับมุมมองของผู้กำหนดนโยบาย ปรับวิธีคิดของบุคลากรทางการศึกษา สร้างความร่วมมือกันใหม่ในการมีส่วนช่วยกันยกเครื่องระบบการศึกษา ทั้งพัฒนาหลักสูตร พัฒนาศักยภาพบุคคลกรทางการศึกษา พัฒนาแนวทางและรูปแบบการ 

โดยมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและระดับท้องถิ่น นอกจากนี้อาจจะต้องดึงภาคเอกชนและหน่วยงานนอกระบบราชการ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนมาร่วมมือกันออกแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึงถอดบทเรียนองค์ความรู้จากทั้งในและต่างประเทศ เพราะเราจะพบว่าแนวโน้มในการความเป็น New normal นี้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคต เช่น เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร การเกิดเทคโนโลยี disruptive หรือแม้แต่การเปลี่ยนด้านการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการสร้างคน สร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ เพื่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศและโลก ซึ่งการศึกษาคือเครื่องมือสำคัญในการสร้างคนนั้นเอง 

 

ข้อมูลอ้างอิง
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเป็นประจำตั้งแต่ปี 2500 (nso.go.th)
New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ - TDRI: Thailand Development Research Institute
วิกฤตโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในห้องเรียนออนไลน์ - TDRI: Thailand Development Research Institute


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เช็คก่อนเชื่อ ชัวร์ก่อนแชร์ 

ข่าว​ Fake ว่อน​ Feed 

หากเป็นสมัยยุคอนาล็อค ถ้าถามว่าข่าวอะไรแพร่ไว ก็น่าจะเป็น “ข่าวลือ” แต่สมัยยุคดิจิทัลนี้ข่าวลือต้องแพ้ “ข่าวลวง” (Fake news) ข่าวลวงยุคนี้มีหลากหลายรูปแบบและแยบยลขึ้นทุกวัน

BBC ระบุถึงความหมายของ Fake news ในยุคโลกออนไลน์ไว้สั้น ๆ เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนว่า Fake news คือ ข่าว หรือเรื่องราวที่ไม่จริงในอินเตอร์เน็ต “ Fake news is news or stories on the internet that are not true.” จากนิยามสั้น ๆ นี้ ยากตรงเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข่าวหรือเรื่องราวนั้น ๆ จริงหรือไม่ เพราะข่าวหรือเรื่องราวที่บอกความจริงไม่หมด หรืออาศัยข้อมูลจริงบ้างบางส่วนผสมไม่จริงหรือนำเสนอเพื่อให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญนี้แยกแยะลำบากเหมือนกัน   

วันนี้จะมาชวนช่วยกันลองเช็คข้อมูลหาความจริงกัน ขอยกกเรื่องราวจากรณีล่าสุดในโลกโซเชียลฯ ที่มีการเผยแพร่จดหมายจาก บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ที่ส่งถึง ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยในเนื้อความระบุว่าบริษัทสามารถจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 20 ล้านโดส ให้แก่รัฐบาลไทยได้ โดยไม่ผ่านตัวแทนหรือบริษัทผู้จัดจำหน่ายอื่นใด แต่ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาบริษัทไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุขเพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปนำเสนอวัคซีนได้เลย 

ครั้งแรกที่เห็นจดหมายนี้ ก็สงสัยว่าจะเป็นไปได้ไหม? เพราะเท่าที่จำได้จากข่าว วัคซีนซิโนฟาร์ม มีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้แล้ว ทำไมจะมีอีกบริษัทแถมบอกว่าไม่ผ่านตัวแทนหรือบริษัทผู้จัดจำหน่ายอื่นด้วย มีความแปลก ๆ น่าสงสัย ๆ เลยลองหาข่าวจากสื่อพบว่า ด้านรัฐบาล โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในระบบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ปรากฏว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดไม่สามารถนำเข้ายาเข้ามาในประเทศไทยได้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และวัคซีน Sinopharm ได้มีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้ก่อนแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคำขอขึ้นทะเบียนอยู่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณา และยังระบุด้วยว่าการเจรจาติดต่อเรื่องการนำเข้าวัคซีนสามารถติดต่อผ่านทางองค์การเภสัชกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้โดยตรงในเบื้องต้น โดยไม่มีความจำเป็นต้องพบนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีตามที่อ้างแต่อย่างใด

ข้อมูลของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด กับของด้านรัฐบาลนั้นขัดแย้งกันพอสมควร…ยังไม่ต้องรีบเชื่อใครก็ได้ ก่อนจะเชื่อใคร ชวนลองมาตรวจสอบข้อมูลแบบง่าย ๆ กันกับความเป็นบริษัทแอคแคป แอสเซ็ทส์ ที่บอกว่าจะเอาวัคซีน Sinopharm เข้ามา 20 ล้านโดส (ภายใน 2 สัปดาห์ด้วยนะ) บริษัทนี้คือบริษัทอะไร ทำไมถึงกล่าวอ้างว่าจะนำเข้าวัคซีนได้   

วิธีการตรวจสอบ คือ ลองไปเช็คข้อมูล บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดใน website ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563 (ถึงวันนี้ก็ปีกว่า ๆ เอง) ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัท คือ นายกรกฤษณ์ กิติสิน และ นายศวิษฐ์ อุทัยเฉลิม จดทะเบียนในประเภทธุรกิจ “การซื้อและการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่เพื่อเป็นที่พักอาศัย” วัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียน คือ “ประกอบกิจการซื้อเเละการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่เพื่อเป็นที่พักอาศัย” นอกจากนี้ยังไม่พบข้อมูลการส่งงบการเงินปรากฎอยู่เลย หากพิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฎนี้ต้องบอกตรง ๆ ว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ที่ทำธุรกิจด้านอสังหาฯนั้นไม่ใกล้เคียงกับการจะเป็นบริษัทตัวแทนผู้นำเข้าวัคซีนได้เลย การนำเข้าวัคซีนในยามปกติก็ไม่ง่ายแล้ว ยิ่งในยามภาวะฉุกเฉินมีวิกฤตโรคระบาดนี้ยิ่งไม่น่าจะเป็นได้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะวางใจให้บริษัทที่ไม่ได้เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นตัวแทนนำเข้า 

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105563061387

พอหาข้อมูลได้ชักอยากรู้ต่อว่าแล้วบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้เพื่อวัคซีน Sinopharm ละเป็นอย่างไรบ้าง จึงลองไปหาข้อมูลบริษัทฯจาก website ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าบ้าง  ก็พบว่า บริษัทไบโอจีนีเทค จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อปี 2536 โดยจดทะเบียนในประเภทการขายส่งเคมีภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และมีวัตถุประสงค์การจดทะเบียนเพื่อ นำเข้าและส่งออกขายสินค้าเคมีภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์ ทุนจดทะเบียน 24 ล้านและมีการแสดงงบแสดงสถานะการเงินปรากฎอยู่ชัดเจน 

ดังนั้นหากพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลบริษัทของทั้งคู่แล้ว แล้วสมมุติว่าเราคือชิโนฟาร์ม เราจะเลือกบริษัทไหนเป็นตัวแทนนำเข้าวัคซีน ระหว่างบริษัทที่เปิดมาเพื่อนำเข้า-เคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ กับบริษัทซื้อขายอสังหาริมทรัพย์? 

นอกจากนี้บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด อ้างว่าตนเองมีฐานะเป็นพันธมิตรผู้เดียวในประเทศไทยของบริษัท TELLUS AGROTECH PTE. LTD. ผู้จัดจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ในภูมิภาคเอเชีย…ทำให้อยากรู้จักบริษัทTELLUS AGROTECH PTE. LTD.  ด้วย เลยลองไป search หาข้อมูลบริษัทนี้ ก็เจอบริษัทที่มีชื่อเดียวกันกับ TELLUS AGROTECH PTE. LTD.  ระบุว่าบริษัทมีสถานะการดําเนินงานในปัจจุบันและเปิดให้บริการมา 2 ปี 118 วัน โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 Jan 2019 ธุรกิจหลักของบริษัทคือบริการให้คําปรึกษาด้านการเกษตร ธุรกิจรองคือการพัฒนาซอฟต์แวร์สําหรับสื่อดิจิทัล…ถ้าบริษัทนี้คือบริษัทเดียวกันตามที่บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด อ้างถึงนี้ก็ต้องบอกว่า บริษัทฯนี้ ดูไม่ใกล้เคียงกับการเป็นผู้จัดจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ในภูมิภาคเอเชียเลย 

ที่มา : https://www.sgpbusiness.com/company/Tellus-Agrotech-Pte-Ltd

และที่สำคัญ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้ที่จดหมายจาก บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ระบุว่าส่งจดหมายไปถึงนั้น โพสต์ชี้แจงใน Facebook ส่วนตัวลงวันที่ 27 พ.ค. 64 ว่า “หนังสือนี้ร่อนไปทั่วบนระบบออนไลน์โดยที่ คนที่หนังสือนี้ส่งถึงยังไม่ได้เห็นหนังสือตัวเป็น ๆ เลย...” (เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ชวนสงสัยมากว่า หากตั้งใจให้คุณหมอ ทำไมคุณหมอถึงไม่ได้รับ แต่ชาวเน็ตเห็นก่อนอีกด้วย ชวนสงสัยยิ่งนักว่าจดหมายนี้มีวัตุประสงค์เพื่ออะไร) นอกจากนี้คุณหมอยังได้ระบุถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ในการเป็นตัวแทนนำเข้าวัคซีนด้วย

สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวนั้น เมื่ออ่านที่คุณหมอเขียนแล้วก็รู้สึกสงสารคนทำงาน ลำพังจะต้องสู้กับโรคระบาด ต้องช่วยกันเพื่อให้คนไทยปลอดภัยที่สุดเท่าที่ทำได้นั้นก็ยากลำบากมากในยามนี้ แล้วยังต้องมาเจอเรื่องราวเช่นนี้อีก ดูจะบั่นทอนกำลังใจคนทำงานไม่น้อย ซึ่งสุดท้ายย่อมจะเป็นผลดีกับประชาชนและสังคมส่วนรวม 

ส่วนกรณีของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ก็คงต้องพิสูจน์ข้อเท็จเพิ่มเติมกันต่อไปว่าจะ fake หรือไม่ fake อย่างไร ยังไม่ขอฟันธง แต่เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้พอให้สังคมได้ช่วยกันพิจารณา ตั้งคำถามกับข้อเท็จจริงในกรณีจากเรื่องราวข้อมูลกรณีนี้ได้พอสมควร 

แต่แน่นอนว่า Fake news นั้นเกิดที่ไหน ก็เดือดร้อนที่นั้น เพราะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความเข้าใจผิดนี้นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ได้มาก ยิ่งในยามที่เราต้องเผชิญกับภาวะการต่อสู้กับโรคระบาดอาจทำให้เกิความผลลบอย่างที่เราอาจจะคาดถึง  การรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยือของข่าวปลอมจึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่เราจะสร้างให้ตัวเองได้  สุดท้ายนี้มีวิธีสร้างภูมิคุ้มกันโดยการสังเกต fake news จาก BBC มาฝากค่ะ ทำได้ไม่ยาก ทั้งหมดเริ่มต้นจากการสังเกต ตั้งข้อสงสัย แล้วตั้งคำถามถามตัวเองก่อนจะเชื่อ หรือจะแชร์อะไร ว่า

- มีการรายงานเรื่องราวไปที่อื่นหรือไม่? (คือดูว่ามีสื่อลงหลาย ๆ สำนักไหม หรือมีการนำเสนออย่างกว้างขวางชัดเจนไหมนั้นเอง)

- ข่าวหรือเรื่องราวนั้น ๆ อยู่ในวิทยุทีวีหรือในหนังสือพิมพ์? (ข้อนี้อาจต้องระวัง เพราะบางทีสิ่งที่อยู่ในสื่อหลักอย่างวิทยุและโทรทัศน์ก็อาจจะไม่จริงทั้งหมดเสมอไป)

- คุณเคยได้ยินชื่อ หรือรู้จักองค์กรที่เผยแพร่ข่าว หรือเรื่องราวหรือไม่? (ถ้าชื่อสำนักข่าว หรือชื่อ url ไม่คุ้นเคยต้องตั้งคำถามต่อว่า คนส่งข่าวหรือเรื่องราวนี้คือใคร น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน)

- เว็บไซต์ที่คุณพบว่าเรื่องราวดูเป็นของแท้หรือไม่? (เพื่อพึงระวังเว็บไซต์เลียนแบบ (copycat) ที่ออกแบบมาเพื่อมีลักษณะเหมือนเว็บไซต์จริงของคนอื่น)

- ที่อยู่ (URL) เว็บไซต์ที่ด้านบนของหน้าดูจริงหรือไม่? โดยให้สังเกตตอนท้ายของชื่อเว็บไซต์ ว่าดูปกติไหม เช่น '.co.uk' หรือ '.com'  ถ้าเป็น 'com.co' แบบนี้แสดงว่าไม่ปกติแล้ว ไม่น่าเชื่อถือ

- รูปภาพหรือวิดีโอดูปกติหรือไม่? (ในภาพหรือวิดีโอดูมีความผิดปกติอย่างไรบ้างหรือไม่)

- เรื่องราวฟังดูน่าเชื่อถือหรือไม่? (บางเรื่องหากลองพิจารณาดูดี จะพบว่ามีความไม่สมเหตุ สมผลบ้างอย่าง ซึ่งควรนำไปสู่การหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น กรณีจดหมายของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดนี้)

ถ้าหากคําตอบสําหรับคําถามเหล่านี้คือ 'ไม่' เช่น ไม่น่าเชื่อถือ ไม่เคยได้ยินที่ไหน ไม่รู้จักแหล่งที่มา เป็นต้น เราอาจต้องการตรวจสอบเพิ่มเติมก่อนที่เชื่อ จะแชร์ เพราะเราอาจกลายเป็นผู้ส่งต่อและขยาย fake news เสียเอง และการที่เราช่วยกันเช็คข้อมูลก็จะได้ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับทั้งคนใกล้ตัวและสังคมได้รับรู้ด้วย สิ่งที่จะทำให้ fake news พ่ายแพ้ไป คือความจริงที่ถูกต้อง หากยังเช็คข้อเท็จจริงไม่ได้ ก็อย่างเพิ่งแชร์ อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอย่างน้อยก็เท่ากับว่าเราได้ช่วยกันยับยั้งการระบาดของ fake news ได้ค่ะ 

ข้อมูลอ้างอิง 
https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105563061387
https://www.thereporters.co/covid-19/270520212209/
https://www.bbc.co.uk/newsround/38906931


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ห่วงโซ่แห่งความห่วงใย หอมกลิ่น ‘น้ำใจ’ จากวิกฤตโควิด

แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 1 ปี นับจากวันที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ณ ขณะนี้โควิดก็ยังคงแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลกและทีท่าว่าจะไม่จบง่าย ๆ แม้มีการฉีดวัคซีนกันไปบ้างแล้ว สถานการณ์โควิดรอบโลกยังน่าเป็นห่วง ตัวเลข ณ วันที่ 29 เมษายน 2564 พบมีผู้ติดเชื่อทั่วโลกร่วมแล้วเกือบ 150 ล้านคน สหรัฐอเมริกามีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุด ตามมาด้วยอินเดีย และบราซิล

ที่มา : Covidtracker - Covid-19 Coronavirus Tracker

ซึ่งบราซิลเป็นประเทศที่นักระบาดวิทยา ระบุว่า มีการกลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธุ์ มีสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ในท้องถิ่นบราซิลเอง ซึ่งจะติดง่ายในหญิงตั้งครรภ์ ถึงขั้นว่ารัฐบาลต้องประกาศให้ประชากรชะลอการตั้งครรภ์ ส่วนยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดในโลกต่อวันตอนนี้ คือ อินเดีย มียอดพุ่งสูงกว่าสองแสนรายต่อวัน และมีแนวโน้มว่าจะพุ่งสูงขึ้นไปอีก และที่สำคัญตอนนี้อินเดียมีการกลายพันธ์ุ์ของเชื้อ ซึ่งระบาดเร็วกว่าเดิมและมีแนวโน้มว่าวัคซีนอาจมีประสิทธิภาพไม่ได้เต็มที่กับสายพันธุ์ใหม่นี้ด้วย ส่วนประเทศที่สถานการณ์ดีที่สุด คือ อิสราเอล อิสราเอลเป็นประเทศเล็ก ๆ มีประชากรทั้งหมดประมาณ 9 ล้านกว่าคน มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดไป 8 แสนกว่าคน เสียชีวิตไปมากกว่า 6 พันคน นับว่าเป็นอัตราการติดเชื้อและการสูญเสียที่สูงมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร แต่ขณะนี้อิสราเอลฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปแล้วมากกว่า 53%  ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงสุดในโลก และถึงแม้ว่าจะไม่ถึง 70% ตามที่ WHO ระบุว่าจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ แต่รัฐบาลอิสราเอลมีความมั่นใจว่าถ้ายังมีการติดเชื้อเกิดขึ้นก็น่าจะน้อยมาก และสามารถจัดการได้ จึงประกาศให้ประชาชนอออกมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยแล้ว (แต่ยังต้องสวมในพื้นที่ปิด)  

ส่วนประเทศไทยเรา ระลอก 3 นี้ สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว วันละเป็นหลักพันราย ในขณะที่จำนวนโรงพยาบาล และบุคคลกรทางการแพทย์มีจำกัด แม้จะมีการเตรียมทั้งโรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลเฉพาะกิจ (Hospitel) และโรงพยาบาลสนามอย่างเต็มกำลัง แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเสี่ยงที่จะไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วย หากอัตราการติดเชื้อยังวิ่งสูงขึ้นทุกวัน และประการสำคัญแม้จะเพิ่มโรงพยาบาลสนามได้ แต่เราเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้ รุ่นพี่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า ทีมแพทย์พยาบาลและบุคลากรต้องวางแผนจัดสรรกำลังพลกันอย่างหนัก แทบไม่มีเวลาได้พัก เพราะมีผู้ป่วยใหม่โควิดมาอยู่โรงพยาบาลวันละประมาณ 300 คน ไม่นับคนไข้เดิมที่มีอยู่แล้ว แล้วยังไม่รวมคนไข้ที่โรงพยาบาลสนามที่ก็ต้องการแพทย์ พยาบาลด้วย ได้ฟังแล้วนึกภาพตามได้ชัดเจนถึงภาระอันหนักหน่วงของบุคลากรทางการแพทย์ โควิดรอบนี้ต้องส่งกำลังใจให้ทีมแพทย์พยาบาลมาก ๆ จริง ๆ ค่ะ 

แต่ในความยากลำบากนี้ เราก็ได้เห็นน้ำใจคนไทย เราได้เห็นผู้คนมากมาย ทั้งดารา นักร้องและประชาชนทั่วไปที่ร่วมกันบริจาคเงิน บริจาคอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อช่วยผู้ป่วย บางท่านก็ทำอาหาร ส่งเสบียงมาให้เจ้าหน้าที่ ดาราบางคนบริจาครถ หรือให้ยืมรถไปใช้เพื่อรับส่งผู้ป่วยติดเชื้อ บางคนอาสาจะช่วยลงแรง เราเห็นน้ำใจหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย ผู้เขียนได้อ่านเจอโพสต์ที่น่าประทับใจจนต้องขอนำมาเล่าต่อ คือโพสต์ของอาจารย์หมอท่านหนึ่ง ท่านเล่าถึงน้ำใจของผู้ป่วยโควิด ที่ช่วยทีมแพทย์พยาบาลดูแลผู้ป่วยโควิดด้วยกัน อาจารย์หมอท่านนี้ใช้ชื่อ Facebook ว่า Somnuek Sungkanuparph ท่านเล่าว่าที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระลอกนี้รับจำนวนผู้ป่วย COVID-19 มาดูแลรักษามากเป็น 4 เท่าของระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว และมีผู้ป่วยสูงอายุจำนวนมาก (สูงสุดคืออายุ 89 ปี) และมีเด็กเล็กจำนวนไม่น้อย มีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายอย่างและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อีกจำนวนหนึ่ง ในขณะที่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น แต่มีข้อจำกัดของกำลังคนทั้งแพทย์และพยาบาล และการไม่สามารถเข้าห้องผู้ป่วยได้ถี่เหมือนผู้ป่วยปกติ และต้องอาศัยการ VDO call เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การติดตามผู้ป่วยไม่สะดวก ทางโรงพยาบาลจึงมีการวางแผนจัดเตียงเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสในการช่วยดูแลกัน เช่น 

- ผู้ป่วยที่เป็นพยาบาล/ผู้ช่วยพยาบาล อยู่ห้องเดียวกับ ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- ผู้ป่วยชายหนุ่มแข็งแรงที่อาการไม่มาก อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยสูงอายุที่เป็น Alzheimer (อัลไซเมอร์)
- ผู้ป่วยอาการไม่มาก อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยน้ำหนักตัวมาก ที่ต้องติดตามใกล้ชิดเนื่องจากความเสี่ยงสูงกว่า ที่จะเกิดปอดอักเสบ
- ผู้ป่วยหญิงวัยกลางคน อยู่ห้องเดียวกับ เด็กเล็กที่พ่อแม่นอนอยู่โรงพยาบาลอื่นหรืออยู่ที่นี่แต่อาการหนักต้องเข้า ICU
- ผู้ป่วยเด็กที่พ่อแม่ไม่ติดเชื้อ อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ข้างบ้าน หรือเพื่อนบ้านข้างบ้าน
- ผู้ป่วยที่ปรับตัวได้และมีความกระตือรือร้น อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า เป็นต้น 

ท่านเล่าต่อด้วยว่า ผู้ป่วยหลายคนมีความเต็มใจและช่วยดูแลผู้ป่วยคนอื่นในห้องเดียวกันได้ดีมาก และเมื่อผู้ป่วยหายแล้วกำลังจะกลับบ้าน หลายคนก็ถามว่า "ถ้าผมกลับบ้านแล้ว มีใครจะมาช่วยดูแลคุณตาต่อจากผมไหมครับ?" หรือบอกว่า "รู้สึกยินดีมากค่ะ เป็นช่วงเวลาที่ได้ทำประโยชน์แม้ว่าจะเป็นผู้ป่วยอยู่ แต่รู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่าอยู่ค่ะ" 

พอได้อ่านโพสต์นี้ของคุณหมอแล้ว รู้สึกขอบคุณ รู้สึกซาบซึ้งน้ำใจและความเอื้ออาทรต่อกันของผู้ป่วย ที่นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระที่หนักหนาของแพทย์พยาบาลแล้ว ยังช่วยให้คนป่วยโควิดมีคนดูแลให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด ในยามป่วยไข้ที่ต้องอยู่ห่างไกลครอบครัว คนที่รัก และญาติพี่น้องลูกหลานมาเยี่ยมมาดูแลไม่ได้ 

น้ำใจและความห่วงใยที่มีให้กันในยามนี้ย่อมมีคุณค่าและความหมายอย่างมาก..ในฐานประชาชนคนหนึ่งขอขอบคุณผู้ป่วยโควิดที่เต็มใจช่วยเหลือทีมแพทย์พยาบาลอีกครั้ง และขอเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ป่วย คุณหมอ คุณพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทุก ๆ ท่าน เรารู้ว่าท่านเหน็ดเหนื่อยและเสียสละมากเพียงใด ประชาชนอย่างเราจะปฎิบัติตามและให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่ในการป้องกันโควิด นอกจากวัคซีนแล้ว การมีน้ำใจต่อกัน การมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ไม่ประมาท การ์ดไม่ตก ก็จะเป็นทั้งวัคซีนป้องกันและเป็นยาขนานที่ดีจะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปให้ได้เหมือนกับ 2 ครั้งที่เราผ่านมาได้เช่นกัน...ว่ากันว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จมูกมักจะไม่ได้กลิ่นอะไร แต่ถ้าเราหอมกลิ่นน้ำใจ เราน่าจะยังปลอดภัยจากโควิดใช่ไหมคะ #ทีมไทยแลนด์สู้ๆ 


ข้อมูลอ้างอิง 
https://www.coronatracker.com/country/israel/?fbclid=IwAR3DrabAngd1Sg_sgvVrsW4Ph9HHgcwYxyEUafKcvHpIMqlDKBnKtA4xKks
Covidtracker - Covid-19 Coronavirus Tracker

https://www.facebook.com/ken.sungkanuparph/posts/3938938202808617
 

มายาคติ...ต่อผู้สูงอายุ

ช่วงนี้สนใจอยากพูดถึงเรื่องของผู้สูงอายุในบ้านเรา เพราะไม่ปีนี้ก็ปีหน้าคาดว่าประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือ มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศแล้ว ดังนั้นการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง และในฐานนักวิชาการด้านสื่อก็เกิดความสนใจว่าการศึกษาด้านสื่อกับผู้สูงอายุในเมืองไทยนั้นมีมากน้อยเพียงใดและว่าด้วยเนื้อหาเรื่องใดบ้าง ก็ไปพบว่าอาจารย์กาญจนา แก้วเทพ ได้ทำการศึกษาประเด็นการสื่อสารกับผู้สูงวัย (2554)

อาจารย์พบว่างานวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้สูงอายุในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณปี พศ.2525 มาจนถึงช่วงเวลาปัจจุบัน รวมเป็นเวลาเกือบ 30 ปีนั้น มีงานวิจัยที่ระบุหัวข้อชื่อตรงกับผู้สูงอายุและการสื่อสารไม่เกิน 10 เล่มทั้งที่จำนวนผู้สูงอายุนั้นมีถึงเกือบร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และยังพบว่าการวิจัยในประเด็นผู้สูงอายุที่มักเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจขนาดใหญ่นั้นไม่ช่วยเห็นลักษณะเฉพาะของความเป็นผู้สูงอายุได้และเมื่อผสมกับการขาดแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่รอบด้านและชัดเจนจึงทำให้ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงทำให้ไม่มีข้อค้นพบเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของผู้สูงอายุในแง่มุมของการสื่อสาร และเมื่อศึกษางานวิจัยอื่น ๆ พร้อม ๆ ไปกับการสังเกตรายการในหน้าจอทีวี สังเกตได้ว่ามีความเข้าใจผิดหรือมีมายาคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุอยู่มากในเรื่องใช้สื่อของผู้สูงอายุ ลองมาดูกันค่ะว่าเราเองก็เข้าใจผู้สูงอายุผิดไปหรือไม่

มายาคติผู้สูงอายุตื่นแต่มืดแต่ดึก : ผู้สูงอายุชอบตื่นแต่เช้ามืด ตี 4 - 5 มาดูทีวี มาฟังวิทยุ จริงหรือ?

อาจจะพูดได้ว่าการคิดว่าผู้สูงอายุชอบตื่นแต่เช้ามืดดังนั้นถ้าจะทำสื่อให้ผู้สูงอายุต้องใช้ช่วงเวลาตีสี่ตีห้า แต่แทนจริงแล้วเป็นเพียงมายาคติที่สังคมมองมายังผู้สูงอายุ เพราะมีงานวิจัยหลายเรื่องที่พบว่าผู้สูงอายุไม่ได้เปิดรับสื่อช่วงเช้ามืดอย่างที่สังคมเข้าใจ เช่น จากการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ ของ จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, สันทัด ทองรินทร์ และวิทยาธร ท่อแก้ว (2559) พบว่าผู้ชมที่มีอายุระหว่าง 60 - 65 ปีมีความต้องการในการชมรายการโทรทัศน์ ช่วงเช้า (06.01 น. - 09.00 น.) และ ช่วงสาย (09.01 น. - 12.00 น.) ผู้ชมที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความต้องการในการชมรายการโทรทัศน์ช่วงเช้า (06.01 น. - 09.00 น.) และช่วงเย็น (16.01 น. - 19.00 น.) และพนม คลี่ฉายา (2555) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย โดยมีสำรวจการเปิดรับสื่อ โดยพบว่าเปิดรับสื่อเป็นประจำมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์ บุคคลใกล้ชิด และโทรศัพท์มือถือ ผู้สูงอายุมักจะชมโทรทัศน์มากที่สุด โดยชมรายการข่าวเป็นประจำ ในช่วงเวลา 17.01 - 21.00 น. ใช้เวลาในการชม คือ 1 - 3 ชั่วโมง/ครั้ง สอดคล้องกับแนวคิดของบริษัทอาร์เอสโปรโมชั่น ในการผลิตรายการโทรทัศน์ช่องเพลินทีวี ทีวีเพื่อผู้สูงอายุ ระบุว่าผู้สูงอายุมีวิถีชีวิต (Lifestyle) ในการรับชมโทรทัศน์อยู่กับบ้านเฉลี่ยมากกว่าบุคคลวัยอื่นถึงร้อยละ 10 โดยที่เวลาไพร์มไทม์ของกลุ่มคนสูงอายุอยู่ในช่วงเวลา 17.30 - 21.30 น. (แต่แอบกระซิบเบา ๆ ว่าหลังจากที่ออกอากาศได้เพียงแค่ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 บริษัทอาร์เอสฯได้ประกาศยุติออกอากาศในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ)

ดังนั้นจะเห็นว่าสังคมมีความเข้าใจผิดคิดว่าผู้สูงอายุนั้นมักชอบชมรายการโทรทัศน์หรือฟังวิทยุในช่วงเวลาเช้ามืดนั้นไม่เป็นความจริง และหากจะถามหาเวลาที่เหมาะในการทำสื่อเพื่อผู้สูงอายุควรจะเป็นช่วงเย็น ๆ มากว่าช่วงเช้ามืดด้วยซ้ำไป

มายาคติผู้สูงอายุชอบทำบุญเข้าวัด : ผู้สูงอายุชอบรายการธรรมะที่สุด จริงหรือ?

มายาคติอีกเรื่องที่ไม่รู้ใครบัญญัติมาให้เชื่อตาม ๆ กัน คือการเหมารวมว่าการที่ผู้สูงอายุชอบเข้าวัดทำบุญดังนั้นจึงชอบดูรายการธรรมะที่สุด แต่จริง ๆ แล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่?

จากการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ ของ จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, สันทัด ทองรินทร์ และวิทยาธร ท่อแก้ว (2559) ในประเด็นการเปิดรับความต้องการและการใช้ประโยชน์รายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์จากการชมรายการโทรทัศน์ 3 อันดับแรก ได้แก่

1) เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสาร

2) เพื่อสร้างความเบิกบานใจ ความสุข และคลายเหงา

3) เพื่อนำเนื้อหาไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเอง ลักษณะเนื้อหาในสื่อที่ผู้สูงอายุต้องการ จากผลงานวิจัยนี้ทำให้เชื่อมโยงได้ว่าผู้สูงอายุชอบรายการที่ให้ทราบข้อมูลข่าวมากว่ารายการธรรมะแน่ ๆ นอกจากนี้ยัง พบว่า

ผู้สูงอายุต้องการเนื้อหาให้สื่อนำเสนอให้เห็นถึงศักยภาพของผู้สูงอายุ ส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกหรือเชิดชูผู้สูงอายุ เนื้อหาที่แสดงให้เห็นความรักความผูกพันระหว่างผู้สูงอายุกับครอบครัว และเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การรักษาสุขภาพ สิทธิทางกฏหมาย และสวัสดิการต่างๆ เป็นต้นด้วย จากงานวิจัยที่กล่าวไปนี้น่าจะพอสรุปได้ว่ารายการธรรมะอาจไม่ได้เป็นรายการที่ผู้สูงอายุจะชื่นชอบที่สุดหรือจะเลือกชมเป็นลำดับต้นๆด้วยซ้ำไป

มายาคติว่าผู้สูงอายุทุกคนก็ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน : ผู้สูงอายุมีความต้องการใช้สื่อเหมือน ๆ กันหมดจริงหรือ?

มายาคตินี้เราเจอกับบ่อย ๆ เพราะการคิดเหมารวมอีกเช่นกันว่าขึ้นชื่อว่าผู้อายุก็คงจะมีความต้องการใช้สื่อเหมือนกันหมดเพราะเป็นคนกลุ่มเดียวกัน แต่จากการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้สูงวัยนั้นก็มีความต้องการในการใช้สื่อที่หลากหลายและแตกต่างกันไม่แพ้วัยเด็กและเยาวชน โดยสิ่งที่เป็นเงื่อนไขปัจจัยมีทั้งปัจจัยส่วนตัว เช่น ลักษณะบุคลิกภาพ ความชอบ ความถนัดและปัจจัยด้านการศึกษา และปัจจัยทางด้านสังคม สภาพครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยทางกายภาพ เช่น พื้นที่อยู่อาศัยนั้น ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อทั้งสิ้น ส่วนในภาพรวมนั้นอาจกล่าวได้ว่าแม้กลุ่มผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ตน้อยที่สุดหากเทียบกับกลุ่ม Gen X และ Gen Y สื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุก็ยังคงเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้สูงอายุได้มากที่สุด

โดยที่สื่อวิทยุนั้นจะเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุในเขตต่างจังหวัดได้มากกว่าเขตเมือง แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุจะใช้สื่อออนไลน์มากขึ้นและสื่อออนไลน์ก็เป็นที่นิยมของผู้สูงอายุมากขึ้น และยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน ดังเช่นงานวิจัยของ กันตพล บันทัดทอง (2557) เรื่อง พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 66 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์น้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 66 ปีขึ้นไป อาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพมากกว่ากลุ่มอื่น เช่น ปัญหาสายตา ปัญญาการใช้นิ้วหรือมือ จึงไม่สามารถใช้บริการเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ได้ จึงมีความพึงพอใจต่ำกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่น

มายาคติที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่กล่าวไปข้างต้นนั้นสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยโดยเฉพาะผู้ผลิตสื่อ ยังมีความเข้าใจผิดถึงพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุและยังไม่มีข้อมูลองค์ความรู้สำคัญพื้นฐานที่จะทำให้การผลิตสื่อที่เหมาะสมตรงความต้องการของผู้สูงอายุ ดังนั้นการทำความรู้จักและเข้าใจความต้องการของผู้สูงอายุอย่างถ่องแท้ จะเป็นประโยชน์มากในการพัฒนาสื่อเพื่อผู้สูงอายุ ภาครัฐควรสนับสนุนนโยบาย งบประมาณและพัฒนาบุคลากร เพราะในประเทศไทยการทำสื่อเพื่อผู้สูงอายุก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับการทำสื่อเพื่อเด็ก คือผู้ประกอบการมองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ากับผลกำไรที่ได้ในทางธุรกิจ ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาช่วยหนุนเสริมภารกิจนี้อีกทาง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสื่อเพื่อผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและดึงศักยภาพของผู้สูงอายุออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม นอกจากนี้สื่อยังสามารถทำหน้าที่ช่วยให้คนในสังคมที่มีความหลากหลายของช่วงวัยเกิดความเข้าใจซึ่งกันละกัน ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่ยอมรับในความหลากหลายและเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของคนทุกช่วงวัย อย่างที่ย้ำเสมอว่าการเป็นสังคมผู้สูงอายุไม่ใช่เป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของเราทุกคนจริง ๆ


ข้อมูลอ้างอิง

กาญจนา แก้วเทพ.(2554).ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงอายุ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.

ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์

พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย: รายงาน

การวิจัย (Information Need, Media Uses and Media Habit of Thai Elderly: Research Report). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กันตพล บันทัดทอง.(2558) พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุใน

เขตกรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

“ช่องทีวีคนสูงวัย เซกเม้นท์นี้ “อาร์เอส” จอง.สืบคนเมื่อ 20 มกราคม 2556.จาก http://positioningmag.com/60832

Positioning. (2558) ช่องทีวีคนสูงวัย เซกเม้นท์นี้ “อาร์เอส” จอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559. จาก http://positioningmag.com/60832

เผยแนวโน้ม “สื่อรุ่ง – สื่อร่วง” ปี ’59 ชี้ชะตาอนาคตสื่อปีหน้า ใครจะได้ไปต่อ !! สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม2559. จาก http://www.brandbuffet.in.th/2016/12/kantar-worldpanel-media-profiler-2016

I care a lot เมื่อห่วง….แต่หวังฮุบ

spoil alert (เนื้อหาในบทความอาจมีการกล่าวถึงเนื้อหาสำคัญในหนัง I care a lot)

ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง I care a lot ชื่อไทยว่า ห่วง… แต่หวังฮุบ เรื่องราวของมิจฉาชีพในคราบนักธุรกิจ นักธุรกิจสาวที่แสร้งว่าตนเองและธุรกิจของตนเองนั้นเป็นธุรกิจที่ห่วงใย ใส่ใจสิทธิและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แต่ที่ไหนได้ ลับหลังคือการเอาเปรียบหลอกลวงและหวังจะฮุบเอาทรัพย์สมบัติบ้านช่องของผู้สูงอายุมาเป็นของตนเอง โดยใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย จากหนังเรื่องนี้ทำให้มีพูดถึงปัญหาการจัดการทรัพย์สินให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันกฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีการรองรับ กฎหมายที่ใกล้เคียงที่สุด คือร่างพระราชบัญญัติบริหารทรัพย์สินส่วนบุคคล หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ ทรัสต์ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก แต่ในบทความนี้จะไม่พูดถึงตัวกฎหมาย แต่อยากชวยคุยในประเด็นสังคมและวัฒนธรรมในการดูแลผู้สูงอายุในประเทศตะวันตก ประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด แต่หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นอีกมุมอันตรายจากการคุ้มครองสิทธินี้อย่างคาดไม่ถึง

หากมองสภาพสังคมในตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเราก็จะพบว่ามีลักษณะเป็นสังคมปัจเจกนิยม สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเปรียบเสมือนศีลสำคัญของความดำรงอยู่ในสังคม  ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว  พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกในช่วงวัยหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตพอที่จะดูแลตัวเองได้ก็จะแยกบ้านเรือนออกไปใช้ชีวิตตนเอง ไม่นิยมการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวขยายอย่างเช่นสังคมในประเทศในฝั่งตะวันออก อย่างประเทศไทยที่ลูกหลานพ่อแม่ปูยาตายายอยู่รวมกัน ทำให้ผู้สูงอายุในประเทศแถบตะวันตกมักอยู่เพียงลำพัง พอถึงจุดหนึ่งผู้สูงอายุอาจถูกมองว่าต้องอยู่ในสภาวะพึ่งพิงผู้อื่น แต่หันซ้ายหันขวาลูกหลานอยู่ไกล หรือไม่รู้อยู่ไหนกัน รัฐจึงยื่นมือเข้ามาหวังจะช่วยดูแลผู้สูงอายุ  โดยให้อำนาจแก่บริษัทฯดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตัวเอง ได้รวมถึงให้อำนาจบริษัทฯจัดการทรัพย์สินของผู้สูงอายุด้วย  ซึ่งก็ดูเหมือนว่าน่าจะดีแต่หนังเรื่องนี้กลับสะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายมีช่องโหว่และสังคมเองก็ไม่ได้เชื่อมั่นว่าผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดูแลตัวเองได้อย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับเชื่อใจบริษัทตัวแทนเหล่านี้มาก จากกฎหมายที่อยากจะปกป้องสิทธิของผู้สูงอายุ กลับกลายเป็นผู้ลิดรอนสิทธิของผู้สูงอายุเสียเอง

เรื่องราวน่าหดหู่และชวนให้คิดใคร่ครวญ คือการสะท้อนว่าแม้ผู้สูงอายุยังสามารถดูแลตนเองได้ดีและยืนยันจะดูแลตัวเองต่อไป บริษัทฯก็จัดฉากสร้างเรื่องทำให้ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อนั้นดูเป็นคนไร้ความสามารถ ให้หมอที่รู้กันกับบริษัทวินิจฉัยว่าผู้สูงอายุมีความจำเลอะเลือนบ้าง หรือมีจิตไม่ปกติบ้างจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ เพื่อให้ศาลสั่งบังคับให้มีผู้ดูแล ซึ่งศาลก็มักจะเชื่อตามหลักฐานจากหมอมากกว่าจะเชื่อจากปากผู้สูงอายุ และสุดท้ายผู้สูงอายุก็เข้าไปอยู่ในบ้านพักคนชราที่สมรู้ร่วมคิดกับกับบริษัทฯไว้แล้ว แม้ลูกหลานจะพยายามช่วย หรือแม้แต่จะขอเข้าพบพ่อแม่ยังไม่สามารถทำได้เพราะบ้านพักคนชราและบริษัทฯก็ใช้ข้อกฎหมายมาเล่นแง่จนลูกๆไม่สามารถเข้าพบหรือพาพ่อแม่ออกมาได้ 

สิ่งที่ทำให้มิจฉาชีพใช้กฎหมายมาเล่นแง่กับลูกๆของผู้สูงอายุได้นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความที่ลูกๆก็ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดหรือใส่ใจดูแลพ่อแม่มาก่อนหน้านี้ทำให้บริษัทฯใช้เป็นข้ออ้างถึงการไม่ควรให้ลูกเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุรวมถึงทรัพย์สินของผู้สูงอายุ พูดง่ายๆว่าระแวงลูกว่าลูกจะไม่ได้ใส่ใจในการดูแลพ่อแม่และศาลก็เชื่อตามนั้น หนังดำเนินเรื่องแบบตลกร้าย แต่ดูแล้วก็ตลกไม่ออกกับการเห็นผู้สูงอายุต้องตกเหยื่อของธุรกิจที่ชั่วร้ายนี้  ผู้สูงอายุทุกคนสมควรจะได้จะมีชีวิตที่ตามที่ใจปรารถนาในช่วงบั้นปลายชีวิต สมควรที่จะมีอิสระและมีความสุขตามวัย  แต่ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุในเรื่องนี้กลับเป็นการพรากคุณค่าและความสุขทั้งหมดทั้งมวลในช่วงบั้นปลายของมนุษย์คนหนึ่งไปอย่างหน้าชื่นตาบาน ซ้ำยังได้รับการชื่นชมในการของการบริหารธุรกิจในโลกของระบบทุนนิยมที่ผลกำไรเป็นเรื่องใหญ่เสมอ  สุดท้ายผู้สูงอายุจึงไม่ใช่ผู้ได้รับการคุ้มครองดูแลตามสิทธิอันพึงได้รับ แต่กลับกลายเป็นเหยื่อของธุรกิจค้าความชราจนผู้สูงอายุไม่มีสิทธิแม้แต่จะเป็นเจ้าของชีวิตของตนเองได้เพียงเพราะความเชื่อว่าผู้สูงอายุไม่สามารถพึงพาตนเองได้และจะต้องอยู่ในการดูแลพึงพาอาศัยผู้อื่น

ดูหนังแล้วย้อนดูสังคมไทยกับสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศ  แอบใจชื่นขึ้นมาหน่อยเพราะสังคมไทยเราเป็นสังคมที่มีลักษณะความผูกพันในครอบครัวที่เหนียวแน่นกว่าในสังคมตะวันตก การอยู่รวมกันแบบครอบครัวขยายของคน 3 รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย  ลูก หลานยังมีให้เห็นมากมาย ถึงแม้จะมีแนวโน้มว่าจะมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น  ไหนๆก็พูดถึงผู้สูงอายุเลยขอชวนหันมาดูสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุกันสักหน่อย จากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553 - พ.ศ.2583 พบว่าสัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนจากร้อยละ 13.2 ในปี 2553  จะเพิ่มเป็นร้อยละ 26.6 ในปี 2573 และเพิ่มเป็น 32.1 ในปี 2583

จากข้อมูลการสำรวจประชากร จะพบว่าตอนนี้ประเทศไทยเราเดินมาไกลเกินกว่าการเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) แล้ว ( สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ)  แต่เรากำลังจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)  ภายในปี 2564นี้  ซึ่งหมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ เพราะจากข้อมูลสถิติประชาการศาสตร์ในปี 2562  ไทยมีประชากรรวม 66,558,935 คน  ในจำนวนนี้ มีประชากรวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ทั้งหมดจำนวน 11,136,059 คน คิดเป็นร้อยละ 16.73   หรือนึกภาพเป็นตัวเลขกลมๆ ให้นึกว่าหากมีคนเดินมา 10 คน  2 คนใน 10 นั้นคือผู้สูงอายุ  และมีแนวโน้มที่ประชาชนจะมีอายุขัยที่ยาวขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุวัยปลายมากขึ้นด้วย ดังนั้นภาครัฐของเรานั้นต้องหันมาเร่งดำเนินการเพื่อรองรับกับกับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร 

ประเทศไทยมีการจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติมา 2 ฉบับแล้ว ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 แผนฉบับนี้มีวิสัยทัศน์ว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสมควรส่งเสริมให้คงคุณค่าไว้ให้นานที่สุดแต่ในกรณีที่ตกอยู่ในสถานะต้องพึ่งพิงผู้อื่นครอบครัวและชุมชนจะต้องเป็นด่านแรกในการเกื้อกูลเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงอยู่ในชุมชนได้อย่างมีสุขภาพที่เหมาะสมที่สมเหตุสมผลได้นานที่สุดโดยมีสวัสดิการจากรัฐเป็นระบบเสริมเพื่อให้เกิดหลักประกันในวัยสูงอายุและความมั่นคงของสังคม  แม้จะมีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติมา 2  ฉบับแล้วแต่ภาครัฐต้องเร่งกำลังเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ การคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุซึ่งก็ต้องเร่งพัฒนากันต่อไปให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เกิดขึ้น   

นอกจากการดำเนินนโยบายต่างๆเพื่อผู้สูงอายุแล้ว สิ่งรัฐต้องเร่งดำเนินดำเนินการควบคู่ไปด้วยคือการสร้างความเข้าใจร่วมกันในสังคมว่า การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) นั้นไม่ใช่เรื่องระหว่างรัฐกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของทุกครอบครัวและทุกคนในสังคม  เป็นเรื่องของคนทุกช่วงวัยที่ต้องทำความเข้าใจและพึ่งพาอาศัยกันต่อไปด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน  ค่านิยมในการมองผู้สูงอายุเป็นบุคคลไร้ความสามารถ เป็นวัยที่ไม่สามารถทำงานหาเงินได้ เป็นวัยที่เป็นภาระ หรือทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงวัยว่า คือคนที่ไม่สามารถปรับตัวหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้  โดยเปรียบเทียบผู้สูงวัยให้เป็นไดโนเสาร์เช่นนี้ อาจทำให้เกิดสถานการณ์อย่างในหนังที่กล่าวถึงขั้นต้นเข้าสักวัน 

ดังนั้นการสื่อสารเพื่อสร้างทัศนคติในการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ของคนทุกช่วงวัยจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะในสถาบันครอบครัว ความรักความห่วงใยการดูแลเอาใจใส่กันและกันของคนในครอบครัว คือเกราะป้องกันชั้นดีให้กับผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน มิใช่แค่เพียงเด็กๆหรือลูกหลานที่ต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่  ในขณะเดียวกันเมื่อกาลเวลาผ่าน พ่อแม่ในวัยผู้สูงอายุก็ยิ่งต้องการความรัก ควาวมห่วงใยและน้ำใจจากลูกๆ เช่นเดียวกัน ผู้เขียนเชื่อว่าวัฒนธรรมความรักในครอบครัวจะช่วยให้ผู้สูงอายุของไทยสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีความภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเอง

ช่วงนี้เห็นมีโฆษณาบ้านพักผู้สูงอายุหลักเกษียณมากมายมาใช้เลือกใช้บริการทั้งราคาย่อมเยาจนถึงราคาสูงลิบ โฆษณาว่าอยู่ดีอยู่สบายครบวงจรทั้งการดูแลสุขภาพ หมอพยาบาลและอาหารการกิน …. แว๊บหนึ่งแอบคิดถึงหนัง I care a lot ห่วง… แต่หวังฮุบ ขึ้นมาทันที  หวังว่าเราจะไม่เจอสภาพเช่นผู้สูงอายุในหนังเรื่องนี้  แต่คิดๆไปก็เบาใจ ผู้เขียนคงไม่เจอสถานการณ์อย่างในหนัง เพราะไม่มีเงินและสมบัติพอให้ใครมาฮุบ  ถ้าจะทำหนังคงต้องชื่อว่า  “ห่วงได้ แต่ไม่มีให้อะไรให้ฮุบ” 


ที่มา

สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย (ด้านประชากร) – FOPDEV

ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (dop.go.th)  กรมกิจการผู้สูงอายุ

แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564)  คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ประชาธิปไตยที่แท้จริง คืออะไร?

สภาพอากาศของเมืองไทยเพิ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้แล้ว แต่ที่ร้อนระอุมานานข้ามปี ก็คงเป็นสภาพการทางการเมืองของไทย ความเห็นต่างทางเมืองในครั้งนี้ดูสร้างความร้าวลึกให้สังคมไทย เพราะไม่เพียงสถาบันทางการเมืองเท่านั้นที่ตกเป็นเป้าในการประท้วงในครั้งนี้ แต่เหมือนเป้าหมายของการใช้เสรีภาพนี้ทะลุเลยเถิดไปถึงสถาบันกษัตริย์ สะท้อนจากข้อเรียกร้องล่าสุดของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่มีการเปิดตัวกลุ่มใหม่ในนาม REDEM – ประชาชนสร้างตัว

โดย REDEM นี้ย่อมาจากคำว่า RESTART DEMOCRACY ซึ่งมีประโยคต่อท้ายตามมาติด ๆ ว่า “สร้างประชาธิปไตยให้เกิดใหม่อีกครั้งไปด้วยกัน”

ฟังแล้วก็สงสัยมีคำถามว่านี้ประชาธิปไตยของไทยเราตายไปแล้วหรือจึงต้องมีการเกิดใหม่ แล้วที่เลือกตั้งกันไปคืออะไรกัน…

กลับมาที่ข้อเลือกร้อง 3 ข้อที่กลุ่ม REDEM ระบุว่ากลุ่มตนขอประกาศข้อเรียกร้องที่มีฐานคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเปรียบเสมือนข้อตกลงร่วมกันหากต้องการต่อสู้ในการเคลื่อนไหวของมวลชนในชื่อ “REDEM” ซึ่งจะเป็นบันไดนำไปสู่ประชาธิปไตยที่ทุกคนมี 1 สิทธิ 1 เสียงที่แท้จริง ดังต่อไปนี้

1.) จำกัดอำนาจสถาบันฯ พอกันทีกับภาษีหลายหมื่นล้านบาทที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับสถาบันฯ ทุกๆ ปีในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงต้องอดมื้อกินมื้อ พอกันทีกับอำนาจที่มากล้นจนไม่อาจตรวจสอบได้

2.) ปลดแอกประชาธิปไตยขับไล่ทหารออกจากการเมือง “ไม่ใช่แค่พลเอกประยุทธ์” เพราะนี่คือเครือข่ายนายพลขนาดใหญ่ที่รวมหัวกันเพื่อกัดกินประเทศนี้

3.) ลดความเหลื่อมล้ำด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า (ไม่ใช่สวัสดิการแบบชิงโชค) จัดสรรภาษีอย่างเป็นระบบ นำมาใช้กับการสร้างรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าตั้งแต่เกิดยันตาย เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

กลุ่ม REDEM ระบุว่านี่เป็น 3 ธงใหญ่ที่จะนำพาสังคมไทยไปสู่การเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงให้จงได้

อ่านแล้วก็เกิดคำถามในนามของประชาชน เราก็ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งถามกับกลุ่ม REDEM ที่ได้ว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร?

อย่างข้อแรก หากจำกัดอำนาจสถาบันฯ ได้ ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือ? และอำนาจที่ต้องการจำกัดนั้น คือ อำนาจเรื่องใด? มีวิธีการในการจำกัดอย่างไร?

ถ้าตั้งธงที่การจำกัดอำนาจของสถาบันฯ ชวนตั้งคำถามต่อว่า อย่างนั้นประเทศที่ยิ่งไม่มีสถาบันกษัตริย์เลยยิ่งจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่…

หันมองประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์แล้วต้องเอียงคอสงสัยอีกว่า จริงหรือที่ประชาธิปไตยจะเบ่งบานในประเทศที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์ หากจะอ้างว่าการจำกัดคือเพียงปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ก็น่าตั้งคำถามต่อว่าการปฎิรูปสถาบันหลักของชาติที่มีความเชื่อมโยง ผูกพันกับสังคมและคนไทยมากกว่า 700 ปี นับตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย กรุงอยุธยา ไล่มาถึงกรุงธนบุรี จนยุคกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน

เรื่องใหญ่เช่นนี้ ควรมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ตลอดจนวิธีการที่ละมุนละม่อมเป็นไปอย่างสันติวิธีและไร้ความรุนแรงที่สุดหรือไม่ มิควรใช้การหักหาญด้วยความหยาบคายก้าวร้าวรุนแรงใช่หรือไม่ และประเด็นสำคัญมากคือต้องเป็นความต้องการร่วมกันหรือมติร่วมกันของมหาชน (Consensus) ทั้งประเทศหรือไม่ ไม่ใช่เพียงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วอ้างว่าตนคือตัวแทนของประชาชนทั้งหมดทั้งมวล เพราะท่ามกลางเสียงทัดทานและความเห็นต่างที่จากปรากฎเป็นรอยแยก คงพอพิสูจน์ได้ว่ามีคนไม่เห็นด้วยมากเหลือเกิน

ดังนั้นการที่กลุ่ม REDEM อ้างความต้องการของประชาชนนั้นมีชอบธรรมเพียงใด เป็นการกล่าวอ้างที่เกินจริงหรือไม่?

นอกจากนี้แล้วกลุ่ม REDEM ยังระบุความเชื่อโยงไปถึงภาษีและความอดมื้อกินมื้อของประชาชน โดยระบุจากข้อความที่ว่า…

“พอกันทีกับภาษีหลายหมื่นล้านบาทที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับสถาบันฯ ทุกๆ ปีในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงต้องอดมื้อกินมื้อ…”

ประโยคนี้ชวนงงหนักเพราะราวกับว่าเพราะรัฐนำเงินไปใช้จ่ายให้กับสถาบันฯ แต่ละเลยประชาชนจนประชาชนต้องอดมื้อกินมื้อ แถมระบุว่าเป็นประชาชนส่วนใหญ่ด้วยนะที่ต้องอดมื้อกินมื้อ (และสงสัยว่าเอาข้อมูลมาจากไหนว่าประชาชนส่วนใหญ่อดมื้อกินมื้อด้วย) อย่างนี้ถือเป็นเหมารวมกล่าวโทษต่อสถาบันฯอย่างไม่เป็นธรรมเกินไปหรือไม่

ต่อมาในข้อที่ 2 ใจความอยู่ที่การขับไล่ทหารออกจากการเมือง ข้อนี้ต้องพิจารณาออกใช้ชัดเจน ว่าทหารในที่นี้คือ บุคคลที่เป็นปัจเจกชน หรือ ทหารที่เป็นสถาบันทหาร เพราะในโครงสร้างในการบริหารราชการแผ่นดิน เห็นด้วยว่าสถาบันทหารมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามภารกิจเพื่อการรักษาอธิปไตยของประเทศที่ แต่ไม่ควรข้ามเข้ามาในกลไกของวงอำนาจการบริหารประเทศทั้งในฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

แต่หากทหารในที่นี้เป็นเพียงตัวบุคคลที่ต้องการเข้ามาเล่นการเมือง ก็ย่อมเป็นสิทธิของปัจเจกชนนั้น ๆ โดยหลักแห่งความเสมอภาคเสรีภาพนั้นเองว่า แม้จะเคยทำงานอาชีพใด ๆ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด ก็สามารถเข้ามาในตำแหน่งทางการเมืองได้ เพราะโดยแนวคิดของระบบประชาธิปไตยย่อมไม่มีใครควรกีดกั้นก่อนจากการเข้ามาเป็นนักการเมืองด้วย

แม้จะเคยมีอาชีพอะไรมาก่อน ไม่ว่าจะรับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน หรือ เกษตรกร ก็ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้ามาสู่ภาคการเมืองใช่หรือไม่ เพราะทหารคนหนึ่ง ก็คือ ประชาชนคนหนึ่งเช่นกัน และที่สำคัญหากเข้ามาตามกติกาของระบบประชาธิปไตยด้วยแล้ว ทุกฝ่ายต้องยิ่งต้องเคารพกติกาด้วยเช่นกัน

ข้อสุดท้ายที่กลุ่ม REDEM เรียกร้อง คือ การลดความเหลื่อมล้ำด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า จัดสรรภาษีอย่างเป็นระบบ นำมาใช้กับการสร้างรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าตั้งแต่เกิดยันตาย เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประเด็นนี้มีความเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ารัฐต้องเร่งดำเนินการบริหารจัดการสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อมุ่งสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่การจัดสรรภาษีคือคำตอบสู่การสร้างรัฐสวัสดิการได้จริงหรือไม่

เพราะภาษีเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการบริหารงานทางการคลังของประเทศเท่านั้น และก่อนที่จะพูดถึงการจัดสรรภาษีอย่างเป็นธรรมนั้น ขอชวนมาดูรายได้ภาครัฐกันสักหน่อยว่าไม่ได้มาจากภาษีทางตรงจากประชาชนเพียงทางเดียว ที่เรามักได้ยินคำพูดที่ว่า ‘ภาษีกูๆ’ หรือภาษีประชาชนนั้น หมายถึงอะไร หากหมายถึงภาษีรายได้บุคคลธรรมดาที่ประชาชนต้องเสียให้แก่รัฐประจำทุกปี

โดยการจัดเก็บของกรมสรรพากรนั้น พบว่าข้อมูลล่าสุดจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่าในช่วง ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมารัฐสามารถเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 222,853 ล้านบาท จากยอดรวมรายได้ที่จัดเก็บได้ คือ 2,450,000 ล้านบาทจากการจัดเก็บภาษีทั้งหมดของกรมสรรพกร กรมศุลกากร และรายได้จากหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมธนารักษ์ เป็นต้น ซึ่งหากคิดเป็นสัดส่วนร้อยละจะพบว่ารายได้ของรัฐที่จัดเก็บได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือประชาชนทั่วๆไปนั้นคิดเป็นเพียง 9.1% จากจำนวนเงินรายได้ที่รัฐจัดเก็บได้ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นการกล่าวอ้างว่าใดๆ ในโลกล้วนมาจากเงินภาษีของตนนั้น อาจจะต้องคิดใหม่

นอกจากนี้ความจริงสำคัญคือการเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) นั้นต้องใช้เงินเยอะมาก ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนั้นเก็บภาษีได้เกือบ 50% ของ GDP ขณะที่ไทยเก็บภาษีได้ไม่ถึง 20% ของ GDP แล้วเราจะมีรัฐสวัสดิการอย่างที่เหมือนเขาได้หรือไม่

และน่าตั้งคำถามว่าในการลดความเหลี่ยมล้ำในสังคมไทย เราจะจัดสรรภาษีเพียงอย่างเดียว หรือควรพิจารณากลไกอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ การสนับสนุนการออมของประชาชน การพัฒนาบริการทางการเงินให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างทั่วถึง เป็นต้น

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เพียงแค่การจัดสรรภาษีตามที่กลุ่ม REDEM ระบุคงไม่สามารถนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าได้ เพราะยังมีองคาพยพอีกมากที่ต้องคำนึงถึงหรือไม่

ที่ตั้งคำถามทั้งหมดนี้มิใช่จะปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง หรือ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติบ้านเมือง หรือสนับสนุนเผด็จการ หรือแม้แต่การกล่าวโทษกลุ่ม REDEM ผู้ประท้วงในทางกลับกันต้องขอบคุณที่การเคลื่อนไหวเรียกร้องในครั้งนี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามหรือทบทวนความเป็นไปในบ้านเมืองนี้

หากแต่เพียงอยากให้พวกเราร่วมด้วยช่วยกันคิดและดึงสติกันด้วยเหตุผลอย่างรอบด้านมากขึ้น ชวนทุกคนช่วยกันคิดว่าแทนที่จะหาว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร เราควรตั้งคำถามใหม่ว่าเราสามารถมีประชาธิปไตยหรือมีการปกครองในแบบที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยได้เองหรือไม่? อย่างไร?

เพราะแท้จริงแล้วประชาธิปไตยก็เป็นเพียงเครื่องมือหรือทางเลือกหนึ่งที่นำประเทศไปสู่จุดหมาย คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีมีสุขใช่หรือไม่ อย่ามัวแต่เพ่งที่เครื่องมือจนละเลยจุดหมายของการปกครอง…เพราะนิ้วที่ชี้ไปที่ดวงจันทร์หาใช่ดวงจันทร์ไม่


อ้างอิงที่มา:

เยาวชนปลดแอก เปิดตัว REDEM ช่องทางออกแบบการเคลื่อนไหว บันไดสู่ ปชต. (matichon.co.th)

ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 1/ (ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561) จัดทำโดย ส่วนนโยบายรายได้ส้านักนโยบายการคลัง ส้านักงานเศรษฐกิจการคลัง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top